Abu

ไฟฟ้าแสงสว่าง

ไฟฟ้าแสงสว่าง

ข้อแนะนำการใช้งาน

1. ใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์แทนหลอดไส้

หลอดฟลูออเรสเซนต์ หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า "หลอดนีออน" ลักษณะเป็นหลอดยาวมีขนาด 18 วัตต์ และ 36 วัตต์ หรือชนิดขดเป็นวงกลมมีขนาด 32 วัตต์ (หลอดชนิดนี้จะให้แสงสว่างมากกว่าหลอดไส้ประมาณ 4 - 5 เท่า ถ้าใช้ปริมาณไฟฟ้าขนาดเท่ากัน อายุการใช้งานของหลอดฟลูออเรสเซนต์จะนานกว่าหลอดไส้ประมาณ 7 เท่า)
2. หลอดฟลูออเรสเซนต์ชนิดพิเศษ (หลอดซุปเปอร์)

เป็นหลอดที่กินไฟเท่ากับหลอดผอมแต่ให้กำลังส่องสว่างมากกว่าหลอดทั่ว ๆ ไป เช่น หลอดผอมธรรมดาขนาด 36 วัตต์ จะให้ความสว่างประมาณ 2,600 ลูเมน (Im) แต่ หลอดซุปเปอร์ให้ความสว่างถึง 3,300 ลูเมน (Im) ซึ่งจะทำให้สามารถลดจำนวนหลอดที่ ใช้ลงได้
หลอดฟลูออเรสเซนต์
3. หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ (หลอดตะเกียบ)

 หมายถึง หลอดฟลูออเรสเซนต์ขนาดเล็กที่ได้มีการพัฒนาเพื่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน โดยใช้แทนหลอดไส้ได้ มีอายุการใช้งานมากกว่าหลอดไส้ 8-10 เท่า และใช้ไฟฟ้าน้อยกว่าหลอดไส้ โดยจะประหยัดไฟได้ 75-80% (เนื่องจากอายุของหลอดขึ้นอยู่กับสภาพการติดตั้ง เช่น การระบายความร้อนและแรงดันไฟฟ้าด้วย) ปัจจุบันมี 2 ประเภท คือ
              3.1หลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายใน ที่เรียกว่าหลอดประหยัดไฟ เป็นหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่ย่อขนาดลง มีบัลลาสต์และสตาร์ทเตอร์รวมอยู่ภายในหลอด สามารถนำไปใช้แทนหลอดไส้ชนิดหลอดเกลียวได้ทันทีโดยไม่ต้องเพิ่มอุปกรณ์ใด ๆ มีอยู่หลายขนาด คือ 9 W, 11W, 13 W, 15 W, 18 W, 20 W ตัวอย่างเปรียบเทียบกับหลอดไส้ธรรมดา เป็นดังนี้

ให้แสงสว่าง
เท่ากับหลอดไส้
9 W
40 W
13 W
60 W
18 W
75 W
25 W
100 W
หลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายใน

  3.2หลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายนอก หลักการใช้งานเช่นเดียวกับหลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายใน แต่หลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายนอกสามารถเปลี่ยนหลอดได้ง่ายเมื่อหลอดชำรุด ตัวหลอดมีลักษณะงอโค้งเป็นรูปตัวยู (U) ภายในขั้วของหลอดจะมีสตาร์ทเตอร์อยู่ภายใน และมีบัลลาสต์อยู่ภายนอกมีหลายขนาด คือ

ให้แสงสว่าง
เท่ากับหลอดใส้
5 W
25 W
7 W
40 W
9 W
60 W
11W
75 W
หลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายนอก

ข้อควรปฏิบัติเพื่อการประหยัดไฟฟ้าแสงสว่าง มีดังนี้

1.ปิดสวิตซ์ไฟ เมื่อไม่ใช้งาน
2.ในบริเวณที่ไม่จำเป็นต้องใช้แสงสว่างมากนัก เช่น เฉลียง ทางเดิน ห้องน้ำ ควรใช้หลอดที่มีวัตต์ต่ำ โดยอาจใช้หลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายใน เนื่องจากมีประสิทธิภาพการให้แสง ลูเมน/วัตต์ (Im/W) สูงกว่าหลอดไส้ และดีกว่าหลอดฟลูออเรสเซนต์ขนาดไม่เกิน 18 W ด้วย
สำหรับบริเวณที่ต้องการแสงสว่างปกตินั้น หลอดผอมขนาด 36 W จะมีประสิทธิภาพการให้แสง (ลูเมน/วัตต์) สูงกว่าหลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายในทั่วๆ ไปไม่ต่ำกว่า 10% และยิ่งจะมีประสิทธิภาพการให้แสงมากขึ้นถ้าเป็นหลอดผอมชนิดซุปเปอร์และใช้บัลลาสต์ประหยัดไฟร่วมด้วย ดังนั้นจำนวนหลอดไฟที่ใช้และการกินไฟของหลอดผอมก็จะน้อยกว่าหลอดประหยัดไฟ
3.หมั่นทำความสะอาด ขั้วหลอด และตัวหลอดไฟ รวมทั้งโคมไฟและโป๊ะไฟต่าง ๆ
4.ผนังห้องหรือเฟอร์นิเจอร์อย่าใช้สีคล้ำ ๆ ทึบ ๆ เพราะสีพวกนี้จะดูดแสง ทำให้ห้องดูมืดกว่าห้องที่ทาสีอ่อน ๆ เช่น สีขาว หรือสีขาวนวล
5.เลือกใช้โคมไฟฟ้าประสิทธิภาพสูงซึ่งมีแผ่นสะท้อนแสงทำด้วยอะลูมิเนียมเคลือบโลหะเงิน จะสามารถลดจำนวนหลอดไฟลงได้ โดยแสงสว่างยังคงเท่าเดิม
6.เลือกใช้ไฟตั้งโต๊ะ ในบริเวณที่ต้องการแสงสว่างเฉพาะแห่ง เช่น อ่านหนังสือ
7.ให้ใช้บัลลาสต์ประหยัดไฟฟ้าควบคู่กับหลอดฟลูออเรสเซนต์ โดยบัลลาสต์ประหยัดไฟ มี 2 แบบ คือ
     7.1 แบบแกนเหล็กประหยัดไฟฟ้า (LOW – LOSS MAGNETIC BALLAST)
     7.2 แบบอิเล็กทรอนิกส์ ( ELECTRONIC BALLAST)
8.ในการเลือกซื้อหลอดไฟ โดยเฉพาะหลอดฟลูออเรสเซนต์นั้น ให้สังเกตปริมาณการส่องสว่าง (ลูเมน หรือ Im) ที่กล่องด้วย เนื่องจากในแต่ละรุ่นจะมีค่าลูเมนไม่เท่ากัน ส่งผลให้มีราคาแตกต่างกัน เช่น หลอดผอม 36 หรือ 40 วัตต์จะให้แสงประมาณ 2,000-2,600 ลูเมน หลอดชนิดซุปเปอร์จะให้แสง 3,300 ลูเมน หลอดประหยัดไฟขนาด 11 วัตต์ (หลอดคอมแพคขนาด 11 วัตต์ หรือหลอดตะเกียบ) จะให้แสงประมาณ 500-600 ลูเมน เป็นต้น นอกจากนี้จะต้องคำนึงถึงการกินไฟภายในบัลลาสต์ด้วย ซึ่งบัลลาสต์แกนเหล็กธรรมดาจะกินไฟมาก ส่วนบัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์จะกินไฟน้อยมาก

ประโยชน์ของบัลลาสต์ประหยัดไฟฟ้า

- บัลลาสต์ธรรมดากินไฟ ประมาณ 10-12 วัตต์ บัลลาสต์ประหยัดไฟกินไฟประมาณ 3-6 วัตต์
- บัลลาสต์ธรรมดามีประสิทธิผลการส่องสว่าง 95–110% บัลลาสต์ประหยัดไฟมีค่าประสิทธิผลการส่องสว่าง 95–
             50%
- การใช้บัลลาสต์ประหยัดไฟช่วยให้เกิดความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีอุณหภูมิขณะทำงานไม่เกิน 75 องศา
             เซลเซียส ในขณะที่บัลลาสต์ธรรมดามีความร้อนจากขดลวดและแกนเหล็กถึง 110 – 120 องศาเซลเซียส
- บัลลาสต์ประหยัดไฟมีอายุการใช้งานมากกว่าแบบธรรมดา 1 เท่าตัว แม้ราคาจะสูงกว่าบัลลาสต์แบบธรรมดา

คำแนะนำด้านความปลอดภัยในการใช้ไฟฟ้าแสงสว่าง

1.เมื่อจะเปลี่ยนหลอดควรดับหรือปลดวงจรไฟฟ้าแสงสว่างนั้น
2.สังเกตบัลลาสต์ว่ามีกลิ่นเหม็นไหม้ หรือรอยเขม่าหรือไม่
3.ถ้าเป็นหลอดฟลูออเรสเซนต์ไม่ควรปล่อยให้ไฟกระพริบอยู่เสมอ หรือหัวหลอดแดงโดยไม่สว่าง เพราะอาจเกิดอัคคีภัยได้
4.ขั้วหลอดต้องแน่นและไม่มีรอยไหม้ที่พลาสติกขาหลอด
5.ไม่นำวัสดุที่ติดไฟง่าย เช่น ผ้า กระดาษ ปิดคลุมหลอดไฟฟ้า
6.ถ้าหลอดขาดหรือชำรุดบ่อย ให้ตรวจสอบแรงดันไฟฟ้าว่าสูงผิดปกติหรือไม่ ถ้าพบผิดปกติให้รีบแจ้งการไฟฟ้านครหลวงทันที
7.ถ้าโคมไฟเป็นโลหะและอยู่ในระยะที่จับต้องได้ควรติดตั้งสายดินด้วย มิฉะนั้นจะต้องเป็นประเภทฉนวน 2 ชั้น
โคมไฟฟ้า
8.หลอดไฟที่ขาดแล้วควรใส่ไว้ตามเดิมจนกว่าจะเปลี่ยนหลอดใหม่
9.หลอดไฟขนาดเล็กที่ใช้ให้แสงสว่างตามทางเดินตลอดคืนซึ่งใช้เสียบกับเต้ารับนั้น อาจมีปัญหาเสียบไม่แน่นจนเกิดความร้อนและไฟไหม้ได้ นอกจากนี้วัสดุที่ใช้มักมีคุณภาพต่ำ ไม่ทนทานต่อความร้อน จึงไม่แนะนำให้ใช้ หรือเสียบทิ้งไว้โดยไม่มีผู้คนดูแลอยู่ใกล้ ๆ
10.ดูข้อควรปฏิบัติในการใช้ไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น