การศึกษาลักษณะการใช้ไฟฟ้า
ความสำคัญของการศึกษาลักษณะการใช้ไฟฟ้า
การศึกษาลักษณะการใช้ไฟฟ้ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่องานด้านไฟฟ้ากล่าวคือ ทำให้ทราบพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าในแต่ละช่วงเวลาและแต่ละวันอย่างชัดเจน ทำให้เกิดการจัดการทางด้านไฟฟ้าได้อย่างถูกต้อง เป็นธรรม และมีประสิทธิภาพมากที่สุด ประโยชน์ของการศึกษาลักษณะการใช้ไฟฟ้าจึงมีมากมายพอสรุปได้ดังนี้- การจัดทำอัตราค่ากระแสไฟฟ้า ทำให้สามารถกำหนดค่าไฟฟ้าสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าแต่ละกลุ่มและแต่ละช่วงเวลาได้อย่างเป็นธรรมมากที่สุด โดยมีหลักการว่าผู้ใช้ไฟฟ้าใดที่ทำให้การไฟฟ้าต้องลงทุนมาก ผู้ใช้ไฟฟ้านั้นจะต้องจ่ายค่าไฟฟ้ามากด้วย ในทางตรงกันข้าม ผู้ใช้ไฟฟ้าใดที่ทำให้การไฟฟ้าลงทุนน้อย ผู้ใช้ไฟฟ้านั้นก็จะจ่ายค่าไฟฟ้าน้อยด้วย ดังนั้น อัตราค่าไฟฟ้าโดยทั่วไปจะมีค่าไฟฟ้าถูกในช่วงเวลาที่มีคนใช้ไฟฟ้าน้อย แต่จะมีค่าไฟฟ้าแพงในช่วงที่มีคนใช้ไฟฟ้ามาก
- การจัดการด้านอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า ทำให้สามารถกำหนดมาตรการประหยัดพลังงานไฟฟ้าต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่น ทราบว่าควรจะประหยัดพลังงานไฟฟ้าในช่วงเวลาใด อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการใช้ไฟฟ้ามากในช่วงนั้น เป็นต้น นอกจากนี้ยังใช้เป็นข้อมูลในการประเมินผล มาตรการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าต่างๆ ได้เป็นอย่างดี
- การพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้า ทำให้ทราบที่มาของข้อมูลการใช้ไฟฟ้า ได้อย่างละเอียด คือทราบว่าผู้ใช้ไฟนี ้จะใช้ไฟฟ้ามากน้อยในแต่ละช่วงเวลาอย่างไร อะไรเป็นสาเหตุทำให้ใช้ไฟฟ้ามาก เช่น เป็นเครื่องปรับอากาศ หรือ แสงสว่าง เป็นต้น เหล่านี้ จะช่วยให้การพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้า มีความน่าเชื่อถือ สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจน
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) ได้เห็นความสำคัญดังกล่าว และได้ขอรับเงินสนับสนุน จากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ตามแผนงานภาคความร่วมมือโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนา ในวงเงิน 27.7 ล้านบาท
1.3 การดำเนินงานการศึกษาลักษณะการใช้ไฟฟ้าได้สิ้นสุดแล้ว โดยมีค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้นประมาณ 23.9 ล้านบาท ดังนี้
- ค่าครุภัณฑ์ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อเครื่องบันทึกค่ากิโลวัตต์ ให้กับ กฟน. และ กฟภ. รวม 14.4 ล้านบาท แบ่งเป็น
- ส่วนของ กฟน. 4.0 ล้านบาท
- ส่วนของ กฟภ. 10.4 ล้านบาท
- ค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ รวม 9.5 ล้านบาท แบ่งเป็น
- การศึกษาดูงานการวิเคราะห์ข้อมูลลักษณะการใช้ไฟฟ้า 1.2 ล้านบาท
- การจัดจ้างบริษัทที่ปรึกษาฯ 8.3 ล้านบาท
ขนาดของตัวอย่างที่จัดเก็บจริง
การติดตั้งมิเตอร์ได้เริ่มดำเนินการมาแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 และจำนวนตัวอย่างที่ได้จัดเก็บมาแล้วระหว่างปี 2538-2539 มีจำนวนทั้งสิ้น 1,385 ตัวอย่าง ซึ่งแบ่งได้ดังนี้คือ
จำนวนตัวอย่าง
ประเภท | การไฟฟ้านครหลวง | การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค | รวม |
บ้านอยู่อาศัย | 42 | 215 | 257 |
กิจการขนาดเล็ก | 36 | 76 | 112 |
กิจการขนาดกลาง | 64 | 496 | 560 |
กิจการขนาดใหญ่ | 59 | 165 | 224 |
กิจการเฉพาะอย่าง | 27 | 69 | 96 |
ส่วนราชการ | 52 | 84 | 136 |
สูบน้ำเพื่อการเกษตร | - | - | - |
รวม | 280 | 1,105 | 1,385 |
ไม่มีความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น