Abu

วันอาทิตย์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2557

Google SketchUp (Software)

Google SketchUp 


การติดตั้ง Google SketchUp

ดาวน์โหลดโปรแกรม
      เปิด Google chrome เข้าไปที่ http://www.sketchup.com/intl/en/download/index.html  สามารถ เลือกดาวน์โหลดเวอร์ชันที่เราต้องการ ถ้าเป็นเวอร์ชัน 8 สามารถดาวน์โหลดได้เลย แต่ถ้าเป็น SketchUp Pro 8 ต้องกรอกรายละเอียด จึงจะสามารถดาวน์โหลดได้ เมื่อดาวน์โหลดเสร็จจะได้ไฟล์ที่ใช้ในการติดตั้ง ดังรูปภาพต่อไปนี้


การติดตั้งโปรแกรม
        การติดตั้งโปรแกรม มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1)  ดับเบิลคลิกไฟล์ติดตั้ง (Instalador Google SketchUp) เพื่อ Extract ไฟล์ ดังภาพ

2)  กดปุ่ม Next

3) คลิกเลือก I accept the terms in the License Agreement แล้วกด Next

4) เลือกตำแหน่งที่ใช้ในการติดตั้ง แล้วกดปุ่ม Next

5) กดปุ่ม Install เพื่่อทำการติดตั้งโปรแกรม Google SketchUp 

6) กดปุ่ม Finish เพื่อสิ้นสุดการติดตั้งโปรแกรม 

สำหรับ Google SketchUp 8 เหมาะสำหรับการใช้งานส่วนตัวโดยมีชุดคำสั่งพื้นฐานสำหรับสร้างโมเดลด้วยตน เองแบบง่ายๆ แต่ความสามารถในการสร้างชิ้นงานที่มีความซับซ้อนยังไม่ดีพอ
ส่วน Google SketchUp Pro 8 เหมาะสำหรับการใช้งานเชิงพาณิชย์ สามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ และยังมี LayOut และ Style Builder ติดตั้งมาด้วย ทั้งสองส่วนจะช่วยให้การทำงานง่ายขึ้น และมีความน่าสนใจมากขึ้นในการผลิตชิ้นงานและการนำเสนอชิ้นงาน

ข้อดี

•ทำให้การวาดของสามมิติเป็นเรื่องง่ายขึ้นมาก
•มีตัวช่วยและเคล็ดลับจำนวนมาก
•เป็นมิตรกับผู้ใช้งาน
•อัพโหลดผลงานสร้างสรรค์ของคุณลงบนGoogle Earthได้
•รวมตัวกับ Google Maps

ข้อเสีย

•ขาดฟีจเจอร์ขั้นสูงหลักๆของแอพCAD
•เวอร์ชั่นฟรีไม่สามารถexportงานเป็นไฟล์CADได้
•เวอร์ชั่นฟรีใส่ตัวอักษรและรูปภาพไม่ได้


Mindstorms NXT (Software)

Mindstorms NXT

การใช้งานโปรแกรม Lego Mindstorms Education NXT

การติดตั้งโปรแกรม NXT

ในชุดหุ่นยนต์ NXT Mindstorms Education เราสามารถเขียนโปรแกรมควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ตามคำสั่งต่าง ๆ ได้ ในบทเรียนนี้เราจะใช้โปรแกรม LEGO MINDSTORMS Education NXT เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า NXT-G ซึ่งชุดมาตรฐานจะมีโปรแกรมมาให้ เราสามารถติดตั้งไปยังคอมพิวเตอร์ที่มีระบบปฎิบัติการทั้ง windows หรือ Macintosh ได้

ดับเบิ้ลคลิ๊กที่ไฟล์ Autorun เพื่อเปิดโปรแกรมติดตั้ง

เลือกภาษาอังกฤษโดยคลิกที่ปุ่ม English

รอให้โปรแกรมติดตั้งโหลดเสร็จ

กดที่ปุ่ม Next เพื่อไปยังหน้าถัดไป

ยอมรับข้อตกลง แล้วกดที่ I accept the License Agreement(s) แล้วกดปุ่ม Next

กดปุ่ม Next เพื่อเริ่มการติดตั้ง

โปรแกรมจะทำการติดตั้งโปรแกรมลงบนคอมพิวเตอร์
ให้รอจนการติดตั้งเสร็จสิ้น โปรแกรมติดตั้งจะพาไปยังหน้าถัดไป

การติดตั้งเสร็จเรียบร้อย ให้กดปุ่ม Finish เพื่อปิดโปรแกรมติดตั้ง

การเปิดโปรแกรมสามารถทำได้สองวิธี คือ
1. เปิดจาก Start Menu โดยคลิกที่ปุ่ม Start => All Programs => LEGO MINDSTORMS Edu NXT=> LEGO MINDSTORMS Edu NXT
2. เปิดจาก Desktop โดยคลิกสองครั้งที่ไอค่อน MINDSTORMS Edu NXT


ส่วนประกอบของโปรแกรม NXT 



ส่วนประกอบของโปรแกรม LEGO MINDSTORMS Education NXT

1.Robot Educator - เป็นส่วนที่สอนการเขียนโปรแกรมและการประกอบหุ่นยนต์เบื้องต้น
2.My Portal - เป็นที่ที่สามารถดาวน์โหลดเครื่องมือในการเขียนโปรแกรมต่างๆ
3.Toolbar - ปุ่มคำสั่งต่างๆ ที่เราใช้งานบ่อยๆ
4.Work Area - พื้นที่ที่อาไว้เขียนโปรแกรมต่างๆ โดยการลากบล๊อกจากด้านซ้ายมาวางเชื่อมต่อกัน
5.Little Help Window - ส่วนที่ให้ความช่วยเหลือในการเขียนโปรแกรมและอื่น ๆ
6.Work Area Map - แสดงผังโปรแกรมขนาดย่อ
7.Programming Palette - เก็บบล๊อกต่างๆ ในโปรแกรม
8.Configuration Panel - ส่วนสำหรับการตั้งค่าหรือกำหนดคุณสมบัติของบล๊อกในโปรแกรม
9.Controller - เป็นศูนย์ควบคุมหุ่นยนต์ NXT สามารถดาวน์โหลดโปรแกรมเข้าไปในหุ่นยนต์ NXT และสามารถตั้งค่าต่างๆ เกี่ยวกับหุ่นยนต์ได้อีกด้วย
10.NXT Window - เป็นส่วนที่แสดงข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับหุ่นยนต์ NXT

วันพฤหัสบดีที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2557

การศึกษาลักษณะการใช้ไฟฟ้า

การศึกษาลักษณะการใช้ไฟฟ้า

ความสำคัญของการศึกษาลักษณะการใช้ไฟฟ้า

        การศึกษาลักษณะการใช้ไฟฟ้ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่องานด้านไฟฟ้ากล่าวคือ ทำให้ทราบพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าในแต่ละช่วงเวลาและแต่ละวันอย่างชัดเจน ทำให้เกิดการจัดการทางด้านไฟฟ้าได้อย่างถูกต้อง เป็นธรรม และมีประสิทธิภาพมากที่สุด ประโยชน์ของการศึกษาลักษณะการใช้ไฟฟ้าจึงมีมากมายพอสรุปได้ดังนี้

  • การจัดทำอัตราค่ากระแสไฟฟ้า ทำให้สามารถกำหนดค่าไฟฟ้าสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าแต่ละกลุ่มและแต่ละช่วงเวลาได้อย่างเป็นธรรมมากที่สุด โดยมีหลักการว่าผู้ใช้ไฟฟ้าใดที่ทำให้การไฟฟ้าต้องลงทุนมาก ผู้ใช้ไฟฟ้านั้นจะต้องจ่ายค่าไฟฟ้ามากด้วย ในทางตรงกันข้าม ผู้ใช้ไฟฟ้าใดที่ทำให้การไฟฟ้าลงทุนน้อย ผู้ใช้ไฟฟ้านั้นก็จะจ่ายค่าไฟฟ้าน้อยด้วย ดังนั้น อัตราค่าไฟฟ้าโดยทั่วไปจะมีค่าไฟฟ้าถูกในช่วงเวลาที่มีคนใช้ไฟฟ้าน้อย แต่จะมีค่าไฟฟ้าแพงในช่วงที่มีคนใช้ไฟฟ้ามาก
  • การจัดการด้านอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า ทำให้สามารถกำหนดมาตรการประหยัดพลังงานไฟฟ้าต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่น ทราบว่าควรจะประหยัดพลังงานไฟฟ้าในช่วงเวลาใด อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการใช้ไฟฟ้ามากในช่วงนั้น เป็นต้น นอกจากนี้ยังใช้เป็นข้อมูลในการประเมินผล มาตรการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าต่างๆ ได้เป็นอย่างดี
  • การพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้า ทำให้ทราบที่มาของข้อมูลการใช้ไฟฟ้า ได้อย่างละเอียด คือทราบว่าผู้ใช้ไฟนี ้จะใช้ไฟฟ้ามากน้อยในแต่ละช่วงเวลาอย่างไร อะไรเป็นสาเหตุทำให้ใช้ไฟฟ้ามาก เช่น เป็นเครื่องปรับอากาศ หรือ แสงสว่าง เป็นต้น เหล่านี้ จะช่วยให้การพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้า มีความน่าเชื่อถือ สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจน

        สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) ได้เห็นความสำคัญดังกล่าว และได้ขอรับเงินสนับสนุน จากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ตามแผนงานภาคความร่วมมือโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนา ในวงเงิน 27.7 ล้านบาท
1.3 การดำเนินงานการศึกษาลักษณะการใช้ไฟฟ้าได้สิ้นสุดแล้ว โดยมีค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้นประมาณ 23.9 ล้านบาท ดังนี้
  • ค่าครุภัณฑ์ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อเครื่องบันทึกค่ากิโลวัตต์ ให้กับ กฟน. และ กฟภ. รวม 14.4 ล้านบาท แบ่งเป็น
    • ส่วนของ กฟน. 4.0 ล้านบาท
    • ส่วนของ กฟภ. 10.4 ล้านบาท
  • ค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ รวม 9.5 ล้านบาท แบ่งเป็น
    • การศึกษาดูงานการวิเคราะห์ข้อมูลลักษณะการใช้ไฟฟ้า 1.2 ล้านบาท
    • การจัดจ้างบริษัทที่ปรึกษาฯ 8.3 ล้านบาท

ขนาดของตัวอย่างที่จัดเก็บจริง

การติดตั้งมิเตอร์ได้เริ่มดำเนินการมาแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 และจำนวนตัวอย่างที่ได้จัดเก็บมาแล้วระหว่างปี 2538-2539 มีจำนวนทั้งสิ้น 1,385 ตัวอย่าง ซึ่งแบ่งได้ดังนี้คือ

จำนวนตัวอย่าง

ประเภทการไฟฟ้านครหลวงการไฟฟ้าส่วนภูมิภาครวม
บ้านอยู่อาศัย42215257
กิจการขนาดเล็ก3676112
กิจการขนาดกลาง64496560
กิจการขนาดใหญ่59165224
กิจการเฉพาะอย่าง276996
ส่วนราชการ5284136
สูบน้ำเพื่อการเกษตร---
รวม2801,1051,385

วันพุธที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ผลการศึกษาการใช้ไฟฟ้า

ผลการศึกษา

  จากผลการติดตั้งมิเตอร์ของผู้ใช้ไฟฟ้าจำนวน 1,385 รายดังกล่าว ได้ถูกนำมาประเมินผลโดยจัดทำเป็นรายละเอียดลักษณะการใช้ไฟฟ้า (Load Profile) ของผู้ใช้ไฟฟ้าแต่ละประเภท แยกวิเคราะห์ได้ดังนี้

3.1 ลักษณะการใช้ไฟฟ้าของระบบแยกตามประเภทอัตราค่ากระแสไฟฟ้า ซึ่งเป็นลักษณะการใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยของเดือนเมษายน 2539 สรุปรายละเอียดได้ดังนี้


1. บ้านที่อยู่อาศัย
  • มีผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยทั้งประเทศเท่ากับ 10.1 ล้านราย ในเดือนเมษายน 2539
  • บ้านที่อยู่อาศัยมีความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุด (Peak) ในเดือนเมษายน 2539 เท่ากับ 3,200 MW
  • Peak ของบ้านที่อยู่อาศัยโดยเฉลี่ยเกิดขึ้นในเวลา 20.00 น.
  • ในเวลาที่ระบบ Peak คือ 14.00 น. ของเดือนเมษายน ในขณะที่ความต้องการพลังไฟฟ้าของบ้านอยู่อาศัยเท่ากับ 1,805 MW
  • ในช่วงเวลาที่ระบบ Peak บ้านอยู่อาศัยมีสัดส่วนความต้องการพลังไฟฟ้า เท่ากับร้อยละ 13.6 ของปริมาณการผลิตพลังไฟฟ้าสูงสุดของระบบ
  • หน่วยการใช้สูงสุดโดยเฉลี่ยคือ วันอาทิตย์ซึ่งมีการใช้เท่ากับวันละ 509 ล้านหน่วย ส่วนวันเสาร์มีการใช้เฉลี่ยต่ำสุดคือ วันละ 490 ล้านหน่วย
2. กิจการขนาดเล็ก
  • มีผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทกิจการขนาดเล็กทั้งสิ้นเท่ากับ 828,805 ราย ในเดือนเมษายน 2539
  • กิจการขนาดเล็กมีความต้องการพลังงานไฟฟ้าสูงสุดเท่ากับ 1,735 MW
  • ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดเกิดขึ้นในวันทำการ (จันทร์ ถึง ศุกร์) ในช่วงเวลา 13.30 น.
  • ในช่วงเวลาที่ระบบ Peak ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดของกิจการขนาดเล็กเท่ากับ 1,691 MW
  • ในช่วงเวลาที่ระบบ Peak สัดส่วนความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดของกิจการขนาดเล็ก เท่ากับร้อยละ 12.7 ของการผลิตพลังไฟฟ้าสูงสุดรวมของระบบ
  • จำนวนหน่วยสูงสุดของกิจการขนาดเล็กเกิดขึ้นในช่วงวันทำการ ซึ่งมีหน่วยการใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยเท่ากับ 311.4 ล้านหน่วยต่อวัน
3. กิจการขนาดกลาง
  • มีผู้ใช้ไฟฟ้ากิจการขนาดกลางจำนวนรวมทั้งสิ้น 37,503 ราย
  • ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดของกิจการขนาดกลางเท่ากับ 4,031 MW
  • ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดเกิดขึ้นในวันทำการ (จันทร์ ถึง ศุกร์) ระหว่างเวลา 14.00 น.
  • ในช่วงเวลาที่ระบบ Peak ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดของกิจการขนาดกลางเท่ากับ 4,031.4 MW ซึ่งเท่ากับความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุด ของกิจการขนาดกลางด้วยเช่นกัน หรือกิจการขนาดกลาง Peak ในเวลาเดียวกันกับ Peak ของระบบ
  • ในช่วงเวลาที่ระบบ Peak สัดส่วนความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุด ของกิจการขนาดกลาง เท่ากับร้อยละ 30.3 ของการผลิตพลังไฟฟ้าสูงสุดของระบบ
  • จำนวนหน่วยการใช้สูงสุดเกิดขึ้นในช่วงวันทำการโดยมีหน่วยการใช้ไฟฟ้าโดยเฉลี่ย 717 ล้านหน่วยต่อวัน
4. กิจการขนาดใหญ่
  • มีผู้ใช้ไฟฟ้ากิจการขนาดใหญ่ จำนวน 827 ราย ในเดือนเมษายน 2539
  • ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุด ของกิจการขนาดใหญ่ เกิดขึ้นในช่วงวันทำการ (จันทร์ ถึง ศุกร์) โดยมีความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดเท่ากับ 2,908 MW
  • ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดเกิดขึ้นเวลา 14.00 น. ซึ่งเป็นเวลาเดียวกันที่ระบบ Peak
  • ในช่วงเวลาที่ระบบ Peak สัดส่วนความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุด ของกิจการขนาดใหญ่เท่ากับร้อยละ 21.9 ของการผลิตพลังไฟฟ้าสูงสุดรวมของระบบ
  • จำนวนหน่วยที่ใช้สูงสุดเกิดขึ้นในวันทำการ โดยมีอัตราการใช้โดยเฉลี่ยเท่ากับ 575.6 ล้านหน่วยต่อวัน
5. กิจการเฉพาะอย่าง
  • มีผู้ใช้ไฟฟ้ากิจการเฉพาะอย่าง จำนวน 3,232 ราย ในเดือนเมษายน 2539
  • ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดของกิจการเฉพาะอย่าง เกิดขึ้นในวันเสาร์ โดยมีความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดเท่ากับ 393 MW
  • เวลาที่กิจการเฉพาะอย่างมีความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดคือ ช่วงเวลา 21.00 น.
  • ในช่วงเวลาที่จะระบบ Peak สัดส่วนความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุด ของกิจการเฉพาะอย่าง เท่ากับร้อยละ 2.5 ของการผลิตพลังไฟฟ้าสูงสุดของระบบ
  • จำนวนหน่วยที่ใช้สูงสุดเกิดขึ้นในวันเสาร์ โดยมีอัตราการใช้เฉพาะวันละ 80.6 ล้านหน่วย
6. ส่วนราชการและองค์กรไม่แสวงหากำไร
  • มีผู้ใช้ไฟฟ้าส่วนราชการและองค์กรไม่แสวงหากำไร จำนวน 75,443 ราย
  • ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดเกิดขึ้นในช่วงวันทำการ (จันทร์ ถึง ศุกร์) ในช่วงเวลา 15.00 น. โดยมีความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดเท่ากับ 402 MW
  • ในช่วงเวลาที่ระบบ Peak ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดของส่วนราชการและองค์กรไม่แสวงหากำไร เท่ากับร้อยละ 2.7 ของการผลิตพลังไฟฟ้าสูงสุดของระบบ
  • จำนวนหน่วยสูงสุดเกิดขึ้นในวันทำการโดยมีอัตราการใช้โดยเฉลี่ยเท่ากับ 106 ล้านหน่วยต่อวัน


3.2 ลักษณะการใช้ไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าในเขตการไฟฟ้านครหลวง ซึ่งเป็นลักษณะการใช้ไฟฟ้าของเดือนเมษายน 2539 สรุปรายละเอียดได้ดังนี้


1. บ้านอยู่อาศัย
  • บ้านอยู่อาศัยในเขตการไฟฟ้านครหลวงมีอยู่ 1.469 ล้านราย
  • ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดเกิดขึ้นในวันอาทิตย์เวลา 22.00 น. โดยมี ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุด 1,112.9 MW
  • ความต้องการพลังไฟฟ้าต่ำสุดเกิดขึ้นในช่วงบ่ายเวลา 16.00 น. ในวันเสาร์ โดยมีความต้องการ 545.8 MW หรือน้อยกว่าความต้องการสูงสุดประมาณครึ่งหนึ่ง
  • จำนวนหน่วยสูงสุดเกิดขึ้นในวันทำงาน (จันทร์ ถึง ศุกร์) โดยมีการใช้เฉลี่ยวันละ 208.6 ล้านหน่วย
2. กิจการขนาดเล็ก
  • มีผู้ใช้ไฟฟ้ากิจการขนาดเล็กในเขตการไฟฟ้านครหลวงอยู่ 327,728 ราย
  • ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดของกิจการขนาดเล็ก เกิดขึ้นในวันทำงาน ในช่วงเวลา 12.00 น. โดยมีความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดเท่ากับ 907 MW
  • ความต้องการพลังไฟฟ้าต่ำสุดเกิดขึ้นวันอาทิตย์เวลา 9.00 น. โดยมีความต้องการพลังไฟฟ้า 326.6 MW
  • จำนวนหน่วยการใช้ไฟสูงสุดของกิจการขนาดเล็กเกิดขึ้นในวันทำงาน โดยมีอัตราการใช้ไฟเฉลี่ยวันละ 153.9 ล้านหน่วย
3. กิจการขนาดกลาง
  • มีผู้ใช้ไฟฟ้ากิจการขนาดกลางอยู่ 18,380 ราย ในเขตการไฟฟ้านครหลวง
  • กิจการขนาดกลางมีความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดเท่ากับ 1,993.7 MW ซึ่งเกิดขึ้นในวันทำงานระหว่างเวลา 11.00 น.
  • กิจการขนาดกลางมีความต้องการพลังไฟฟ้าต่ำสุดเท่ากับ 754 MW ซึ่งเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ เวลา 6.00 น.
  • วันที่มีการใช้ไฟฟ้ามากที่สุดคือวันทำงานโดยมีอัตราการใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยเท่ากับ 319.6 ล้านหน่วยต่อวัน
4. กิจการขนาดใหญ่
  • การไฟฟ้านครหลวงมีผู้ใช้ไฟกิจการขนาดใหญ่เพียง 334 ราย
  • ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุด ของกิจการขนาดใหญ่เกิดขึ้นในวันทำงาน โดยมีความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดเท่ากับ 1,700 MW ในช่วงเวลา 14.00 น.
  • ส่วนความต้องการพลังไฟฟ้าต่ำสุดเท่ากับ 644 MW ซึ่งเกิดขึ้นในวันอาทิตย์
  • กิจการขนาดใหญ่มีการใช้ไฟฟ้าสูงสุดในวันทำงาน โดยมีอัตราการใช้ 215 ล้านหน่วยต่อวันโดยเฉลี่ย
5. กิจการเฉพาะอย่าง
  • มีผู้ใช้ไฟฟ้ากิจการเฉพาะอย่างในเขตการไฟฟ้านครหลวงเท่ากับ 1,282 ราย
  • ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดของกิจการเฉพาะอย่างเท่ากับ 189.7 MW โดยเกิดขึ้นในช่วงวันทำงานระหว่างเวลา 21.30 น.
  • ความต้องการพลังไฟฟ้าต่ำสุด เกิดขึ้นในวันอาทิตย์ เวลา 6.00 น. โดยมีความต้องการเท่ากับ 154.8 MW
  • จำนวนหน่วยการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของกิจการเฉพาะอย่างเกิดขึ้นในวันเสาร์ โดยมีอัตราการใช้ไฟฟ้าเฉลี่ย 39.2 ล้านหน่วยต่อวัน
6. ส่วนราชการและองค์กรไม่แสวงหากำไร
  • มีส่วนราชการและองค์กรไม่แสวงหากำไรจำนวน 8,745 ราย ในเขตการไฟฟ้านครหลวง
  • ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดของส่วนราชการและองค์กรไม่แสวงหากำไรเท่ากับ 59.1 MW ซึ่งเกิดขึ้นในวันทำงานในช่วงเวลา 11.00 น.
  • ความต้องการพลังไฟฟ้าต่ำสุดเท่ากับ 14 MW ซึ่งเกิดในวันอาทิตย์เวลา 7.00 น.
  • จำนวนหน่วยการใช้ไฟฟ้าสูงสุดเกิดขึ้นในวันทำงานซึ่งมีอัตราการใช้ไฟฟ้าเท่ากับ 49.3 ล้านหน่วยต่อวันโดยเฉลี่ย


3.3 ลักษณะการใช้ไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าในเขตการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งเป็นลักษณะการใช้ไฟฟ้าของเดือนเมษายน 2539 สรุปรายละเอียดได้ดังนี้


1. บ้านอยู่อาศัย
  • ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยในเขตการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีอยู่ 8.64 ล้านราย
  • ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดเกิดขึ้นในวันอาทิตย์เวลา 21.00 น. โดยมีความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุด 2,287 MW
  • ความต้องการพลังไฟฟ้าต่ำสุดเกิดขึ้นในช่วงเช้าเวลา 10.00 น. โดยมีความต้องการ 770.8 MW หรือน้อยกว่าความต้องการสูงสุดประมาณสองในสาม
  • จำนวนหน่วยการใช้ไฟฟ้าสูงสุดเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ โดยมีการใช้เฉลี่ยวันละ 319.4 ล้านหน่วย
2. กิจการขนาดเล็ก
  • มีผู้ใช้ไฟฟ้ากิจการขนาดเล็กในเขตการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอยู่ 501,077 ราย
  • ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดของกิจการขนาดเล็ก เกิดขึ้นในวันอาทิตย์ ในช่วงเวลา 20.00 น. โดยมีความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดเท่ากับ 1,199 MW
  • จำนวนหน่วยการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของกิจการขนาดเล็กเกิดขึ้นในวันทำงาน โดยมีอัตราการใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยวันละ 153.3 ล้านหน่วย
3. กิจการขนาดกลาง
  • มีผู้ใช้ไฟฟ้ากิจการขนาดกลางอยู่ในเขตการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 19,123 ราย
  • กิจการขนาดกลางมีความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดเท่ากับ 2,067.7 MW ซึ่งเกิดขึ้นในวันทำงานระหว่างเวลา 14.00 น.
  • กิจการขนาดกลางมีความต้องการพลังไฟฟ้าต่ำสุดเท่ากับ 880.1 MW ซึ่งเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ เวลา 7.00 น.
  • วันที่มีการใช้ไฟฟ้ามากที่สุดคือวันทำงาน โดยมีอัตราการใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยเท่ากับ 387.3 ล้านหน่วยต่อวัน
4. กิจการขนาดใหญ่
  • การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีผู้ใช้ไฟฟ้ากิจการขนาดใหญ่ 493 ราย
  • ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดของกิจการขนาดใหญ่เกิดขึ้นในวันเสาร์ โดยมีความต้องการเท่ากับ 3,317 MW ในช่วงเวลา 10.00 น.
  • ส่วนความต้องการพลังไฟฟ้าต่ำสุดเท่ากับ 1,179 MW ซึ่งเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ในช่วงเวลา 20.00 น.
  • กิจการขนาดใหญ่มีการใช้ไฟสูงสุดในวันเสาร์ โดยมีอัตราการใช้ 357.4 ล้านหน่วยต่อวันโดยเฉลี่ย
5. กิจการเฉพาะอย่าง
  • มีผู้ใช้ไฟฟ้ากิจการเฉพาะอย่างในเขตการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเท่ากับ 1,950 ราย
  • ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดของกิจการเฉพาะอย่างเท่ากับ 205.5 MW โดยเกิดขึ้นในช่วงวันเสาร์ ระหว่างเวลา 21.00 น.
  • ความต้องการพลังไฟฟ้าต่ำสุด เกิดขึ้นในวันทำงาน เวลา 9.00 น. โดยมีความต้องการพลังไฟฟ้าเท่ากับ 120.6 MW
  • จำนวนหน่วยการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของกิจการเฉพาะอย่างเกิดขึ้นในวันเสาร์ โดยมีอัตราการใช้เฉลี่ย 40.2 ล้านหน่วยต่อวัน
6. ส่วนราชการและองค์กรไม่แสวงหากำไร
  • มีส่วนราชการและองค์กรไม่แสวงหากำไรจำนวน 66,698 ราย ในเขตการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
  • ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดของส่วนราชการและองค์กรไม่แสวงหากำไรเท่ากับ 343.6 MW ซึ่งเกิดขึ้นในวันทำงานในช่วงเวลา 15.00 น.
  • ความต้องการพลังไฟฟ้าต่ำสุดเท่ากับ 132.9 MW ซึ่งเกิดในวันอาทิตย์เวลา 4.00 น.
  • จำนวนหน่วยการใช้ไฟฟ้าสูงสุดเกิดขึ้นในวันทำงาน ซึ่งมีอัตราการใช้เท่ากับ 60.5 ล้านหน่วยต่อวันโดยเฉลี่ย

วันอังคารที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2557

หลักในการเลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า

หลักในการเลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า


        การประหยัดไฟฟ้า ต้องเริ่มจากการพิจารณาเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างมีหลักเกณฑ์ ซึ่งข้อแนะนำต่อไปนี้จะเป็นเครื่องช่วยประเมินคุณค่าของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จะซื้อ ก่อนตัดสินใจควรพิจารณาดังนี้1. ควรทราบว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่พบเห็นนั้น กินไฟมากน้อยเพียงไร2. มีความเหมาะสมในการใช้งานหรือไม่3. สะดวกในการใช้สอย คงทน ปลอดภัยหรือไม่4. ภาระการติดตั้ง และค่าบำรุงรักษา5. พิจารณาคุณภาพ ค่าใช้จ่าย อายุใช้งาน มาประเมินออกมาเป็นตัวเงินด้วย

ปริมาณการกินไฟ (กำลังไฟฟ้า) ของเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทต่าง ๆ
เครื่องใช้ไฟฟ้า
กำลังไฟฟ้า (วัตต์)
พัดลมตั้งพื้น
20 - 75
พัดลมเพดาน
70 - 100
โทรทัศน์ขาว-ดำ
28 - 150
โทรทัศน์สี
80 - 180
เครื่องเล่นวิดีโอ
25 - 50
ตู้เย็น 7-10 คิว
70 - 145
หม้อหุงข้าว
450 - 1,500
เตาหุงต้มไฟฟ้า
200 - 1,500
หม้อชงกาแฟ
200 -600
เตาไมโครเวฟ
100 - 1,000
เครื่องปิ้งขนมปัง
800 - 1,000
เครื่องทำน้ำอุ่น/ร้อน
2,500 - 12,000
เครื่องเป่าผม
400 - 1,000
เตารีดไฟฟ้า
750 - 2,000
เครื่องซักผ้าแบบมีเครื่องอบผ้า
3,000
เครื่องปรับอากาศ
1,200 - 3,300
เครื่องดูดฝุ่น
750 - 1,200
มอเตอร์จักรเย็บผ้า
40 - 90

การคิดค่ากระแสไฟฟ้า

 ตัวอย่าง การคิดค่าไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยประเภท 1.2 สมมุติในเดือนมกราคม 2546 ผู้ใช้ไฟฟ้าใช้ไฟฟ้า 500 หน่วย

1. ค่าไฟฟ้าฐาน

 1.1 ค่าพลังงานไฟฟ้า
150 หน่วยแรก 150 x 1.8047เป็นเงิน  270.705บาท
250 หน่วยต่อไป 250 x 2.7781เป็นเงิน  694.525บาท
เกิน 400 หน่วยต่อไป (500 – 400) x 2.9780เป็นเงิน  297.80บาท
รวมค่าไฟฟ้าฐานเป็นเงิน1,303.93บาท
Ft ที่เรียกเก็บเพิ่มจากค่าไฟฟ้าฐานประจำเดือนมกราคม 2546 = 21.95 สตางค์ต่อหน่วย

2. ค่าไฟฟ้าผันแปร   


     = 500 x (21.95/100)เป็นเงิน    109.75บาท
รวมค่าไฟฟ้าฐานและค่าไฟฟ้าผันแปรเป็นเงิน  1,413.68บาท



       3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม

      ร้อยละ 7เป็นเงิน       98.95บาท
   รวมค่าไฟฟ้าทั้งสิ้น  เป็นเงิน 1,512.63บาท





วันจันทร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ไฟฟ้าแสงสว่าง

ไฟฟ้าแสงสว่าง

ข้อแนะนำการใช้งาน

1. ใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์แทนหลอดไส้

หลอดฟลูออเรสเซนต์ หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า "หลอดนีออน" ลักษณะเป็นหลอดยาวมีขนาด 18 วัตต์ และ 36 วัตต์ หรือชนิดขดเป็นวงกลมมีขนาด 32 วัตต์ (หลอดชนิดนี้จะให้แสงสว่างมากกว่าหลอดไส้ประมาณ 4 - 5 เท่า ถ้าใช้ปริมาณไฟฟ้าขนาดเท่ากัน อายุการใช้งานของหลอดฟลูออเรสเซนต์จะนานกว่าหลอดไส้ประมาณ 7 เท่า)
2. หลอดฟลูออเรสเซนต์ชนิดพิเศษ (หลอดซุปเปอร์)

เป็นหลอดที่กินไฟเท่ากับหลอดผอมแต่ให้กำลังส่องสว่างมากกว่าหลอดทั่ว ๆ ไป เช่น หลอดผอมธรรมดาขนาด 36 วัตต์ จะให้ความสว่างประมาณ 2,600 ลูเมน (Im) แต่ หลอดซุปเปอร์ให้ความสว่างถึง 3,300 ลูเมน (Im) ซึ่งจะทำให้สามารถลดจำนวนหลอดที่ ใช้ลงได้
หลอดฟลูออเรสเซนต์
3. หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ (หลอดตะเกียบ)

 หมายถึง หลอดฟลูออเรสเซนต์ขนาดเล็กที่ได้มีการพัฒนาเพื่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน โดยใช้แทนหลอดไส้ได้ มีอายุการใช้งานมากกว่าหลอดไส้ 8-10 เท่า และใช้ไฟฟ้าน้อยกว่าหลอดไส้ โดยจะประหยัดไฟได้ 75-80% (เนื่องจากอายุของหลอดขึ้นอยู่กับสภาพการติดตั้ง เช่น การระบายความร้อนและแรงดันไฟฟ้าด้วย) ปัจจุบันมี 2 ประเภท คือ
              3.1หลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายใน ที่เรียกว่าหลอดประหยัดไฟ เป็นหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่ย่อขนาดลง มีบัลลาสต์และสตาร์ทเตอร์รวมอยู่ภายในหลอด สามารถนำไปใช้แทนหลอดไส้ชนิดหลอดเกลียวได้ทันทีโดยไม่ต้องเพิ่มอุปกรณ์ใด ๆ มีอยู่หลายขนาด คือ 9 W, 11W, 13 W, 15 W, 18 W, 20 W ตัวอย่างเปรียบเทียบกับหลอดไส้ธรรมดา เป็นดังนี้


ให้แสงสว่าง
เท่ากับหลอดไส้
9 W
40 W
13 W
60 W
18 W
75 W
25 W
100 W
หลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายใน


  3.2หลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายนอก หลักการใช้งานเช่นเดียวกับหลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายใน แต่หลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายนอกสามารถเปลี่ยนหลอดได้ง่ายเมื่อหลอดชำรุด ตัวหลอดมีลักษณะงอโค้งเป็นรูปตัวยู (U) ภายในขั้วของหลอดจะมีสตาร์ทเตอร์อยู่ภายใน และมีบัลลาสต์อยู่ภายนอกมีหลายขนาด คือ


ให้แสงสว่าง
เท่ากับหลอดใส้
5 W
25 W
7 W
40 W
9 W
60 W
11W
75 W
หลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายนอก


ข้อควรปฏิบัติเพื่อการประหยัดไฟฟ้าแสงสว่าง มีดังนี้

1.ปิดสวิตซ์ไฟ เมื่อไม่ใช้งาน
2.ในบริเวณที่ไม่จำเป็นต้องใช้แสงสว่างมากนัก เช่น เฉลียง ทางเดิน ห้องน้ำ ควรใช้หลอดที่มีวัตต์ต่ำ โดยอาจใช้หลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายใน เนื่องจากมีประสิทธิภาพการให้แสง ลูเมน/วัตต์ (Im/W) สูงกว่าหลอดไส้ และดีกว่าหลอดฟลูออเรสเซนต์ขนาดไม่เกิน 18 W ด้วย
สำหรับบริเวณที่ต้องการแสงสว่างปกตินั้น หลอดผอมขนาด 36 W จะมีประสิทธิภาพการให้แสง (ลูเมน/วัตต์) สูงกว่าหลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายในทั่วๆ ไปไม่ต่ำกว่า 10% และยิ่งจะมีประสิทธิภาพการให้แสงมากขึ้นถ้าเป็นหลอดผอมชนิดซุปเปอร์และใช้บัลลาสต์ประหยัดไฟร่วมด้วย ดังนั้นจำนวนหลอดไฟที่ใช้และการกินไฟของหลอดผอมก็จะน้อยกว่าหลอดประหยัดไฟ
3.หมั่นทำความสะอาด ขั้วหลอด และตัวหลอดไฟ รวมทั้งโคมไฟและโป๊ะไฟต่าง ๆ
4.ผนังห้องหรือเฟอร์นิเจอร์อย่าใช้สีคล้ำ ๆ ทึบ ๆ เพราะสีพวกนี้จะดูดแสง ทำให้ห้องดูมืดกว่าห้องที่ทาสีอ่อน ๆ เช่น สีขาว หรือสีขาวนวล
5.เลือกใช้โคมไฟฟ้าประสิทธิภาพสูงซึ่งมีแผ่นสะท้อนแสงทำด้วยอะลูมิเนียมเคลือบโลหะเงิน จะสามารถลดจำนวนหลอดไฟลงได้ โดยแสงสว่างยังคงเท่าเดิม
6.เลือกใช้ไฟตั้งโต๊ะ ในบริเวณที่ต้องการแสงสว่างเฉพาะแห่ง เช่น อ่านหนังสือ
7.ให้ใช้บัลลาสต์ประหยัดไฟฟ้าควบคู่กับหลอดฟลูออเรสเซนต์ โดยบัลลาสต์ประหยัดไฟ มี 2 แบบ คือ
     7.1 แบบแกนเหล็กประหยัดไฟฟ้า (LOW – LOSS MAGNETIC BALLAST)
     7.2 แบบอิเล็กทรอนิกส์ ( ELECTRONIC BALLAST)
8.ในการเลือกซื้อหลอดไฟ โดยเฉพาะหลอดฟลูออเรสเซนต์นั้น ให้สังเกตปริมาณการส่องสว่าง (ลูเมน หรือ Im) ที่กล่องด้วย เนื่องจากในแต่ละรุ่นจะมีค่าลูเมนไม่เท่ากัน ส่งผลให้มีราคาแตกต่างกัน เช่น หลอดผอม 36 หรือ 40 วัตต์จะให้แสงประมาณ 2,000-2,600 ลูเมน หลอดชนิดซุปเปอร์จะให้แสง 3,300 ลูเมน หลอดประหยัดไฟขนาด 11 วัตต์ (หลอดคอมแพคขนาด 11 วัตต์ หรือหลอดตะเกียบ) จะให้แสงประมาณ 500-600 ลูเมน เป็นต้น นอกจากนี้จะต้องคำนึงถึงการกินไฟภายในบัลลาสต์ด้วย ซึ่งบัลลาสต์แกนเหล็กธรรมดาจะกินไฟมาก ส่วนบัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์จะกินไฟน้อยมาก


ประโยชน์ของบัลลาสต์ประหยัดไฟฟ้า

- บัลลาสต์ธรรมดากินไฟ ประมาณ 10-12 วัตต์ บัลลาสต์ประหยัดไฟกินไฟประมาณ 3-6 วัตต์
- บัลลาสต์ธรรมดามีประสิทธิผลการส่องสว่าง 95–110% บัลลาสต์ประหยัดไฟมีค่าประสิทธิผลการส่องสว่าง 95–
             50%
- การใช้บัลลาสต์ประหยัดไฟช่วยให้เกิดความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีอุณหภูมิขณะทำงานไม่เกิน 75 องศา
             เซลเซียส ในขณะที่บัลลาสต์ธรรมดามีความร้อนจากขดลวดและแกนเหล็กถึง 110 – 120 องศาเซลเซียส
- บัลลาสต์ประหยัดไฟมีอายุการใช้งานมากกว่าแบบธรรมดา 1 เท่าตัว แม้ราคาจะสูงกว่าบัลลาสต์แบบธรรมดา


คำแนะนำด้านความปลอดภัยในการใช้ไฟฟ้าแสงสว่าง

1.เมื่อจะเปลี่ยนหลอดควรดับหรือปลดวงจรไฟฟ้าแสงสว่างนั้น
2.สังเกตบัลลาสต์ว่ามีกลิ่นเหม็นไหม้ หรือรอยเขม่าหรือไม่
3.ถ้าเป็นหลอดฟลูออเรสเซนต์ไม่ควรปล่อยให้ไฟกระพริบอยู่เสมอ หรือหัวหลอดแดงโดยไม่สว่าง เพราะอาจเกิดอัคคีภัยได้
4.ขั้วหลอดต้องแน่นและไม่มีรอยไหม้ที่พลาสติกขาหลอด
5.ไม่นำวัสดุที่ติดไฟง่าย เช่น ผ้า กระดาษ ปิดคลุมหลอดไฟฟ้า
6.ถ้าหลอดขาดหรือชำรุดบ่อย ให้ตรวจสอบแรงดันไฟฟ้าว่าสูงผิดปกติหรือไม่ ถ้าพบผิดปกติให้รีบแจ้งการไฟฟ้านครหลวงทันที
7.ถ้าโคมไฟเป็นโลหะและอยู่ในระยะที่จับต้องได้ควรติดตั้งสายดินด้วย มิฉะนั้นจะต้องเป็นประเภทฉนวน 2 ชั้น
โคมไฟฟ้า
8.หลอดไฟที่ขาดแล้วควรใส่ไว้ตามเดิมจนกว่าจะเปลี่ยนหลอดใหม่
9.หลอดไฟขนาดเล็กที่ใช้ให้แสงสว่างตามทางเดินตลอดคืนซึ่งใช้เสียบกับเต้ารับนั้น อาจมีปัญหาเสียบไม่แน่นจนเกิดความร้อนและไฟไหม้ได้ นอกจากนี้วัสดุที่ใช้มักมีคุณภาพต่ำ ไม่ทนทานต่อความร้อน จึงไม่แนะนำให้ใช้ หรือเสียบทิ้งไว้โดยไม่มีผู้คนดูแลอยู่ใกล้ ๆ
10.ดูข้อควรปฏิบัติในการใช้ไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย