Abu

วันพฤหัสบดีที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2557

การศึกษาลักษณะการใช้ไฟฟ้า

การศึกษาลักษณะการใช้ไฟฟ้า

ความสำคัญของการศึกษาลักษณะการใช้ไฟฟ้า

        การศึกษาลักษณะการใช้ไฟฟ้ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่องานด้านไฟฟ้ากล่าวคือ ทำให้ทราบพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าในแต่ละช่วงเวลาและแต่ละวันอย่างชัดเจน ทำให้เกิดการจัดการทางด้านไฟฟ้าได้อย่างถูกต้อง เป็นธรรม และมีประสิทธิภาพมากที่สุด ประโยชน์ของการศึกษาลักษณะการใช้ไฟฟ้าจึงมีมากมายพอสรุปได้ดังนี้

  • การจัดทำอัตราค่ากระแสไฟฟ้า ทำให้สามารถกำหนดค่าไฟฟ้าสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าแต่ละกลุ่มและแต่ละช่วงเวลาได้อย่างเป็นธรรมมากที่สุด โดยมีหลักการว่าผู้ใช้ไฟฟ้าใดที่ทำให้การไฟฟ้าต้องลงทุนมาก ผู้ใช้ไฟฟ้านั้นจะต้องจ่ายค่าไฟฟ้ามากด้วย ในทางตรงกันข้าม ผู้ใช้ไฟฟ้าใดที่ทำให้การไฟฟ้าลงทุนน้อย ผู้ใช้ไฟฟ้านั้นก็จะจ่ายค่าไฟฟ้าน้อยด้วย ดังนั้น อัตราค่าไฟฟ้าโดยทั่วไปจะมีค่าไฟฟ้าถูกในช่วงเวลาที่มีคนใช้ไฟฟ้าน้อย แต่จะมีค่าไฟฟ้าแพงในช่วงที่มีคนใช้ไฟฟ้ามาก
  • การจัดการด้านอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า ทำให้สามารถกำหนดมาตรการประหยัดพลังงานไฟฟ้าต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่น ทราบว่าควรจะประหยัดพลังงานไฟฟ้าในช่วงเวลาใด อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการใช้ไฟฟ้ามากในช่วงนั้น เป็นต้น นอกจากนี้ยังใช้เป็นข้อมูลในการประเมินผล มาตรการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าต่างๆ ได้เป็นอย่างดี
  • การพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้า ทำให้ทราบที่มาของข้อมูลการใช้ไฟฟ้า ได้อย่างละเอียด คือทราบว่าผู้ใช้ไฟนี ้จะใช้ไฟฟ้ามากน้อยในแต่ละช่วงเวลาอย่างไร อะไรเป็นสาเหตุทำให้ใช้ไฟฟ้ามาก เช่น เป็นเครื่องปรับอากาศ หรือ แสงสว่าง เป็นต้น เหล่านี้ จะช่วยให้การพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้า มีความน่าเชื่อถือ สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจน

        สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) ได้เห็นความสำคัญดังกล่าว และได้ขอรับเงินสนับสนุน จากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ตามแผนงานภาคความร่วมมือโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนา ในวงเงิน 27.7 ล้านบาท
1.3 การดำเนินงานการศึกษาลักษณะการใช้ไฟฟ้าได้สิ้นสุดแล้ว โดยมีค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้นประมาณ 23.9 ล้านบาท ดังนี้
  • ค่าครุภัณฑ์ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อเครื่องบันทึกค่ากิโลวัตต์ ให้กับ กฟน. และ กฟภ. รวม 14.4 ล้านบาท แบ่งเป็น
    • ส่วนของ กฟน. 4.0 ล้านบาท
    • ส่วนของ กฟภ. 10.4 ล้านบาท
  • ค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ รวม 9.5 ล้านบาท แบ่งเป็น
    • การศึกษาดูงานการวิเคราะห์ข้อมูลลักษณะการใช้ไฟฟ้า 1.2 ล้านบาท
    • การจัดจ้างบริษัทที่ปรึกษาฯ 8.3 ล้านบาท

ขนาดของตัวอย่างที่จัดเก็บจริง

การติดตั้งมิเตอร์ได้เริ่มดำเนินการมาแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 และจำนวนตัวอย่างที่ได้จัดเก็บมาแล้วระหว่างปี 2538-2539 มีจำนวนทั้งสิ้น 1,385 ตัวอย่าง ซึ่งแบ่งได้ดังนี้คือ

จำนวนตัวอย่าง

ประเภทการไฟฟ้านครหลวงการไฟฟ้าส่วนภูมิภาครวม
บ้านอยู่อาศัย42215257
กิจการขนาดเล็ก3676112
กิจการขนาดกลาง64496560
กิจการขนาดใหญ่59165224
กิจการเฉพาะอย่าง276996
ส่วนราชการ5284136
สูบน้ำเพื่อการเกษตร---
รวม2801,1051,385

วันพุธที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ผลการศึกษาการใช้ไฟฟ้า

ผลการศึกษา

  จากผลการติดตั้งมิเตอร์ของผู้ใช้ไฟฟ้าจำนวน 1,385 รายดังกล่าว ได้ถูกนำมาประเมินผลโดยจัดทำเป็นรายละเอียดลักษณะการใช้ไฟฟ้า (Load Profile) ของผู้ใช้ไฟฟ้าแต่ละประเภท แยกวิเคราะห์ได้ดังนี้

3.1 ลักษณะการใช้ไฟฟ้าของระบบแยกตามประเภทอัตราค่ากระแสไฟฟ้า ซึ่งเป็นลักษณะการใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยของเดือนเมษายน 2539 สรุปรายละเอียดได้ดังนี้


1. บ้านที่อยู่อาศัย
  • มีผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยทั้งประเทศเท่ากับ 10.1 ล้านราย ในเดือนเมษายน 2539
  • บ้านที่อยู่อาศัยมีความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุด (Peak) ในเดือนเมษายน 2539 เท่ากับ 3,200 MW
  • Peak ของบ้านที่อยู่อาศัยโดยเฉลี่ยเกิดขึ้นในเวลา 20.00 น.
  • ในเวลาที่ระบบ Peak คือ 14.00 น. ของเดือนเมษายน ในขณะที่ความต้องการพลังไฟฟ้าของบ้านอยู่อาศัยเท่ากับ 1,805 MW
  • ในช่วงเวลาที่ระบบ Peak บ้านอยู่อาศัยมีสัดส่วนความต้องการพลังไฟฟ้า เท่ากับร้อยละ 13.6 ของปริมาณการผลิตพลังไฟฟ้าสูงสุดของระบบ
  • หน่วยการใช้สูงสุดโดยเฉลี่ยคือ วันอาทิตย์ซึ่งมีการใช้เท่ากับวันละ 509 ล้านหน่วย ส่วนวันเสาร์มีการใช้เฉลี่ยต่ำสุดคือ วันละ 490 ล้านหน่วย
2. กิจการขนาดเล็ก
  • มีผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทกิจการขนาดเล็กทั้งสิ้นเท่ากับ 828,805 ราย ในเดือนเมษายน 2539
  • กิจการขนาดเล็กมีความต้องการพลังงานไฟฟ้าสูงสุดเท่ากับ 1,735 MW
  • ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดเกิดขึ้นในวันทำการ (จันทร์ ถึง ศุกร์) ในช่วงเวลา 13.30 น.
  • ในช่วงเวลาที่ระบบ Peak ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดของกิจการขนาดเล็กเท่ากับ 1,691 MW
  • ในช่วงเวลาที่ระบบ Peak สัดส่วนความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดของกิจการขนาดเล็ก เท่ากับร้อยละ 12.7 ของการผลิตพลังไฟฟ้าสูงสุดรวมของระบบ
  • จำนวนหน่วยสูงสุดของกิจการขนาดเล็กเกิดขึ้นในช่วงวันทำการ ซึ่งมีหน่วยการใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยเท่ากับ 311.4 ล้านหน่วยต่อวัน
3. กิจการขนาดกลาง
  • มีผู้ใช้ไฟฟ้ากิจการขนาดกลางจำนวนรวมทั้งสิ้น 37,503 ราย
  • ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดของกิจการขนาดกลางเท่ากับ 4,031 MW
  • ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดเกิดขึ้นในวันทำการ (จันทร์ ถึง ศุกร์) ระหว่างเวลา 14.00 น.
  • ในช่วงเวลาที่ระบบ Peak ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดของกิจการขนาดกลางเท่ากับ 4,031.4 MW ซึ่งเท่ากับความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุด ของกิจการขนาดกลางด้วยเช่นกัน หรือกิจการขนาดกลาง Peak ในเวลาเดียวกันกับ Peak ของระบบ
  • ในช่วงเวลาที่ระบบ Peak สัดส่วนความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุด ของกิจการขนาดกลาง เท่ากับร้อยละ 30.3 ของการผลิตพลังไฟฟ้าสูงสุดของระบบ
  • จำนวนหน่วยการใช้สูงสุดเกิดขึ้นในช่วงวันทำการโดยมีหน่วยการใช้ไฟฟ้าโดยเฉลี่ย 717 ล้านหน่วยต่อวัน
4. กิจการขนาดใหญ่
  • มีผู้ใช้ไฟฟ้ากิจการขนาดใหญ่ จำนวน 827 ราย ในเดือนเมษายน 2539
  • ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุด ของกิจการขนาดใหญ่ เกิดขึ้นในช่วงวันทำการ (จันทร์ ถึง ศุกร์) โดยมีความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดเท่ากับ 2,908 MW
  • ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดเกิดขึ้นเวลา 14.00 น. ซึ่งเป็นเวลาเดียวกันที่ระบบ Peak
  • ในช่วงเวลาที่ระบบ Peak สัดส่วนความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุด ของกิจการขนาดใหญ่เท่ากับร้อยละ 21.9 ของการผลิตพลังไฟฟ้าสูงสุดรวมของระบบ
  • จำนวนหน่วยที่ใช้สูงสุดเกิดขึ้นในวันทำการ โดยมีอัตราการใช้โดยเฉลี่ยเท่ากับ 575.6 ล้านหน่วยต่อวัน
5. กิจการเฉพาะอย่าง
  • มีผู้ใช้ไฟฟ้ากิจการเฉพาะอย่าง จำนวน 3,232 ราย ในเดือนเมษายน 2539
  • ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดของกิจการเฉพาะอย่าง เกิดขึ้นในวันเสาร์ โดยมีความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดเท่ากับ 393 MW
  • เวลาที่กิจการเฉพาะอย่างมีความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดคือ ช่วงเวลา 21.00 น.
  • ในช่วงเวลาที่จะระบบ Peak สัดส่วนความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุด ของกิจการเฉพาะอย่าง เท่ากับร้อยละ 2.5 ของการผลิตพลังไฟฟ้าสูงสุดของระบบ
  • จำนวนหน่วยที่ใช้สูงสุดเกิดขึ้นในวันเสาร์ โดยมีอัตราการใช้เฉพาะวันละ 80.6 ล้านหน่วย
6. ส่วนราชการและองค์กรไม่แสวงหากำไร
  • มีผู้ใช้ไฟฟ้าส่วนราชการและองค์กรไม่แสวงหากำไร จำนวน 75,443 ราย
  • ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดเกิดขึ้นในช่วงวันทำการ (จันทร์ ถึง ศุกร์) ในช่วงเวลา 15.00 น. โดยมีความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดเท่ากับ 402 MW
  • ในช่วงเวลาที่ระบบ Peak ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดของส่วนราชการและองค์กรไม่แสวงหากำไร เท่ากับร้อยละ 2.7 ของการผลิตพลังไฟฟ้าสูงสุดของระบบ
  • จำนวนหน่วยสูงสุดเกิดขึ้นในวันทำการโดยมีอัตราการใช้โดยเฉลี่ยเท่ากับ 106 ล้านหน่วยต่อวัน


3.2 ลักษณะการใช้ไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าในเขตการไฟฟ้านครหลวง ซึ่งเป็นลักษณะการใช้ไฟฟ้าของเดือนเมษายน 2539 สรุปรายละเอียดได้ดังนี้


1. บ้านอยู่อาศัย
  • บ้านอยู่อาศัยในเขตการไฟฟ้านครหลวงมีอยู่ 1.469 ล้านราย
  • ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดเกิดขึ้นในวันอาทิตย์เวลา 22.00 น. โดยมี ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุด 1,112.9 MW
  • ความต้องการพลังไฟฟ้าต่ำสุดเกิดขึ้นในช่วงบ่ายเวลา 16.00 น. ในวันเสาร์ โดยมีความต้องการ 545.8 MW หรือน้อยกว่าความต้องการสูงสุดประมาณครึ่งหนึ่ง
  • จำนวนหน่วยสูงสุดเกิดขึ้นในวันทำงาน (จันทร์ ถึง ศุกร์) โดยมีการใช้เฉลี่ยวันละ 208.6 ล้านหน่วย
2. กิจการขนาดเล็ก
  • มีผู้ใช้ไฟฟ้ากิจการขนาดเล็กในเขตการไฟฟ้านครหลวงอยู่ 327,728 ราย
  • ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดของกิจการขนาดเล็ก เกิดขึ้นในวันทำงาน ในช่วงเวลา 12.00 น. โดยมีความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดเท่ากับ 907 MW
  • ความต้องการพลังไฟฟ้าต่ำสุดเกิดขึ้นวันอาทิตย์เวลา 9.00 น. โดยมีความต้องการพลังไฟฟ้า 326.6 MW
  • จำนวนหน่วยการใช้ไฟสูงสุดของกิจการขนาดเล็กเกิดขึ้นในวันทำงาน โดยมีอัตราการใช้ไฟเฉลี่ยวันละ 153.9 ล้านหน่วย
3. กิจการขนาดกลาง
  • มีผู้ใช้ไฟฟ้ากิจการขนาดกลางอยู่ 18,380 ราย ในเขตการไฟฟ้านครหลวง
  • กิจการขนาดกลางมีความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดเท่ากับ 1,993.7 MW ซึ่งเกิดขึ้นในวันทำงานระหว่างเวลา 11.00 น.
  • กิจการขนาดกลางมีความต้องการพลังไฟฟ้าต่ำสุดเท่ากับ 754 MW ซึ่งเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ เวลา 6.00 น.
  • วันที่มีการใช้ไฟฟ้ามากที่สุดคือวันทำงานโดยมีอัตราการใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยเท่ากับ 319.6 ล้านหน่วยต่อวัน
4. กิจการขนาดใหญ่
  • การไฟฟ้านครหลวงมีผู้ใช้ไฟกิจการขนาดใหญ่เพียง 334 ราย
  • ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุด ของกิจการขนาดใหญ่เกิดขึ้นในวันทำงาน โดยมีความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดเท่ากับ 1,700 MW ในช่วงเวลา 14.00 น.
  • ส่วนความต้องการพลังไฟฟ้าต่ำสุดเท่ากับ 644 MW ซึ่งเกิดขึ้นในวันอาทิตย์
  • กิจการขนาดใหญ่มีการใช้ไฟฟ้าสูงสุดในวันทำงาน โดยมีอัตราการใช้ 215 ล้านหน่วยต่อวันโดยเฉลี่ย
5. กิจการเฉพาะอย่าง
  • มีผู้ใช้ไฟฟ้ากิจการเฉพาะอย่างในเขตการไฟฟ้านครหลวงเท่ากับ 1,282 ราย
  • ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดของกิจการเฉพาะอย่างเท่ากับ 189.7 MW โดยเกิดขึ้นในช่วงวันทำงานระหว่างเวลา 21.30 น.
  • ความต้องการพลังไฟฟ้าต่ำสุด เกิดขึ้นในวันอาทิตย์ เวลา 6.00 น. โดยมีความต้องการเท่ากับ 154.8 MW
  • จำนวนหน่วยการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของกิจการเฉพาะอย่างเกิดขึ้นในวันเสาร์ โดยมีอัตราการใช้ไฟฟ้าเฉลี่ย 39.2 ล้านหน่วยต่อวัน
6. ส่วนราชการและองค์กรไม่แสวงหากำไร
  • มีส่วนราชการและองค์กรไม่แสวงหากำไรจำนวน 8,745 ราย ในเขตการไฟฟ้านครหลวง
  • ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดของส่วนราชการและองค์กรไม่แสวงหากำไรเท่ากับ 59.1 MW ซึ่งเกิดขึ้นในวันทำงานในช่วงเวลา 11.00 น.
  • ความต้องการพลังไฟฟ้าต่ำสุดเท่ากับ 14 MW ซึ่งเกิดในวันอาทิตย์เวลา 7.00 น.
  • จำนวนหน่วยการใช้ไฟฟ้าสูงสุดเกิดขึ้นในวันทำงานซึ่งมีอัตราการใช้ไฟฟ้าเท่ากับ 49.3 ล้านหน่วยต่อวันโดยเฉลี่ย


3.3 ลักษณะการใช้ไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าในเขตการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งเป็นลักษณะการใช้ไฟฟ้าของเดือนเมษายน 2539 สรุปรายละเอียดได้ดังนี้


1. บ้านอยู่อาศัย
  • ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยในเขตการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีอยู่ 8.64 ล้านราย
  • ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดเกิดขึ้นในวันอาทิตย์เวลา 21.00 น. โดยมีความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุด 2,287 MW
  • ความต้องการพลังไฟฟ้าต่ำสุดเกิดขึ้นในช่วงเช้าเวลา 10.00 น. โดยมีความต้องการ 770.8 MW หรือน้อยกว่าความต้องการสูงสุดประมาณสองในสาม
  • จำนวนหน่วยการใช้ไฟฟ้าสูงสุดเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ โดยมีการใช้เฉลี่ยวันละ 319.4 ล้านหน่วย
2. กิจการขนาดเล็ก
  • มีผู้ใช้ไฟฟ้ากิจการขนาดเล็กในเขตการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอยู่ 501,077 ราย
  • ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดของกิจการขนาดเล็ก เกิดขึ้นในวันอาทิตย์ ในช่วงเวลา 20.00 น. โดยมีความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดเท่ากับ 1,199 MW
  • จำนวนหน่วยการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของกิจการขนาดเล็กเกิดขึ้นในวันทำงาน โดยมีอัตราการใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยวันละ 153.3 ล้านหน่วย
3. กิจการขนาดกลาง
  • มีผู้ใช้ไฟฟ้ากิจการขนาดกลางอยู่ในเขตการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 19,123 ราย
  • กิจการขนาดกลางมีความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดเท่ากับ 2,067.7 MW ซึ่งเกิดขึ้นในวันทำงานระหว่างเวลา 14.00 น.
  • กิจการขนาดกลางมีความต้องการพลังไฟฟ้าต่ำสุดเท่ากับ 880.1 MW ซึ่งเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ เวลา 7.00 น.
  • วันที่มีการใช้ไฟฟ้ามากที่สุดคือวันทำงาน โดยมีอัตราการใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยเท่ากับ 387.3 ล้านหน่วยต่อวัน
4. กิจการขนาดใหญ่
  • การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีผู้ใช้ไฟฟ้ากิจการขนาดใหญ่ 493 ราย
  • ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดของกิจการขนาดใหญ่เกิดขึ้นในวันเสาร์ โดยมีความต้องการเท่ากับ 3,317 MW ในช่วงเวลา 10.00 น.
  • ส่วนความต้องการพลังไฟฟ้าต่ำสุดเท่ากับ 1,179 MW ซึ่งเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ในช่วงเวลา 20.00 น.
  • กิจการขนาดใหญ่มีการใช้ไฟสูงสุดในวันเสาร์ โดยมีอัตราการใช้ 357.4 ล้านหน่วยต่อวันโดยเฉลี่ย
5. กิจการเฉพาะอย่าง
  • มีผู้ใช้ไฟฟ้ากิจการเฉพาะอย่างในเขตการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเท่ากับ 1,950 ราย
  • ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดของกิจการเฉพาะอย่างเท่ากับ 205.5 MW โดยเกิดขึ้นในช่วงวันเสาร์ ระหว่างเวลา 21.00 น.
  • ความต้องการพลังไฟฟ้าต่ำสุด เกิดขึ้นในวันทำงาน เวลา 9.00 น. โดยมีความต้องการพลังไฟฟ้าเท่ากับ 120.6 MW
  • จำนวนหน่วยการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของกิจการเฉพาะอย่างเกิดขึ้นในวันเสาร์ โดยมีอัตราการใช้เฉลี่ย 40.2 ล้านหน่วยต่อวัน
6. ส่วนราชการและองค์กรไม่แสวงหากำไร
  • มีส่วนราชการและองค์กรไม่แสวงหากำไรจำนวน 66,698 ราย ในเขตการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
  • ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดของส่วนราชการและองค์กรไม่แสวงหากำไรเท่ากับ 343.6 MW ซึ่งเกิดขึ้นในวันทำงานในช่วงเวลา 15.00 น.
  • ความต้องการพลังไฟฟ้าต่ำสุดเท่ากับ 132.9 MW ซึ่งเกิดในวันอาทิตย์เวลา 4.00 น.
  • จำนวนหน่วยการใช้ไฟฟ้าสูงสุดเกิดขึ้นในวันทำงาน ซึ่งมีอัตราการใช้เท่ากับ 60.5 ล้านหน่วยต่อวันโดยเฉลี่ย

วันอังคารที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2557

หลักในการเลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า

หลักในการเลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า


        การประหยัดไฟฟ้า ต้องเริ่มจากการพิจารณาเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างมีหลักเกณฑ์ ซึ่งข้อแนะนำต่อไปนี้จะเป็นเครื่องช่วยประเมินคุณค่าของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จะซื้อ ก่อนตัดสินใจควรพิจารณาดังนี้1. ควรทราบว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่พบเห็นนั้น กินไฟมากน้อยเพียงไร2. มีความเหมาะสมในการใช้งานหรือไม่3. สะดวกในการใช้สอย คงทน ปลอดภัยหรือไม่4. ภาระการติดตั้ง และค่าบำรุงรักษา5. พิจารณาคุณภาพ ค่าใช้จ่าย อายุใช้งาน มาประเมินออกมาเป็นตัวเงินด้วย

ปริมาณการกินไฟ (กำลังไฟฟ้า) ของเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทต่าง ๆ
เครื่องใช้ไฟฟ้า
กำลังไฟฟ้า (วัตต์)
พัดลมตั้งพื้น
20 - 75
พัดลมเพดาน
70 - 100
โทรทัศน์ขาว-ดำ
28 - 150
โทรทัศน์สี
80 - 180
เครื่องเล่นวิดีโอ
25 - 50
ตู้เย็น 7-10 คิว
70 - 145
หม้อหุงข้าว
450 - 1,500
เตาหุงต้มไฟฟ้า
200 - 1,500
หม้อชงกาแฟ
200 -600
เตาไมโครเวฟ
100 - 1,000
เครื่องปิ้งขนมปัง
800 - 1,000
เครื่องทำน้ำอุ่น/ร้อน
2,500 - 12,000
เครื่องเป่าผม
400 - 1,000
เตารีดไฟฟ้า
750 - 2,000
เครื่องซักผ้าแบบมีเครื่องอบผ้า
3,000
เครื่องปรับอากาศ
1,200 - 3,300
เครื่องดูดฝุ่น
750 - 1,200
มอเตอร์จักรเย็บผ้า
40 - 90

การคิดค่ากระแสไฟฟ้า

 ตัวอย่าง การคิดค่าไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยประเภท 1.2 สมมุติในเดือนมกราคม 2546 ผู้ใช้ไฟฟ้าใช้ไฟฟ้า 500 หน่วย

1. ค่าไฟฟ้าฐาน

 1.1 ค่าพลังงานไฟฟ้า
150 หน่วยแรก 150 x 1.8047เป็นเงิน  270.705บาท
250 หน่วยต่อไป 250 x 2.7781เป็นเงิน  694.525บาท
เกิน 400 หน่วยต่อไป (500 – 400) x 2.9780เป็นเงิน  297.80บาท
รวมค่าไฟฟ้าฐานเป็นเงิน1,303.93บาท
Ft ที่เรียกเก็บเพิ่มจากค่าไฟฟ้าฐานประจำเดือนมกราคม 2546 = 21.95 สตางค์ต่อหน่วย

2. ค่าไฟฟ้าผันแปร   


     = 500 x (21.95/100)เป็นเงิน    109.75บาท
รวมค่าไฟฟ้าฐานและค่าไฟฟ้าผันแปรเป็นเงิน  1,413.68บาท



       3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม

      ร้อยละ 7เป็นเงิน       98.95บาท
   รวมค่าไฟฟ้าทั้งสิ้น  เป็นเงิน 1,512.63บาท





วันจันทร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ไฟฟ้าแสงสว่าง

ไฟฟ้าแสงสว่าง

ข้อแนะนำการใช้งาน

1. ใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์แทนหลอดไส้

หลอดฟลูออเรสเซนต์ หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า "หลอดนีออน" ลักษณะเป็นหลอดยาวมีขนาด 18 วัตต์ และ 36 วัตต์ หรือชนิดขดเป็นวงกลมมีขนาด 32 วัตต์ (หลอดชนิดนี้จะให้แสงสว่างมากกว่าหลอดไส้ประมาณ 4 - 5 เท่า ถ้าใช้ปริมาณไฟฟ้าขนาดเท่ากัน อายุการใช้งานของหลอดฟลูออเรสเซนต์จะนานกว่าหลอดไส้ประมาณ 7 เท่า)
2. หลอดฟลูออเรสเซนต์ชนิดพิเศษ (หลอดซุปเปอร์)

เป็นหลอดที่กินไฟเท่ากับหลอดผอมแต่ให้กำลังส่องสว่างมากกว่าหลอดทั่ว ๆ ไป เช่น หลอดผอมธรรมดาขนาด 36 วัตต์ จะให้ความสว่างประมาณ 2,600 ลูเมน (Im) แต่ หลอดซุปเปอร์ให้ความสว่างถึง 3,300 ลูเมน (Im) ซึ่งจะทำให้สามารถลดจำนวนหลอดที่ ใช้ลงได้
หลอดฟลูออเรสเซนต์
3. หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ (หลอดตะเกียบ)

 หมายถึง หลอดฟลูออเรสเซนต์ขนาดเล็กที่ได้มีการพัฒนาเพื่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน โดยใช้แทนหลอดไส้ได้ มีอายุการใช้งานมากกว่าหลอดไส้ 8-10 เท่า และใช้ไฟฟ้าน้อยกว่าหลอดไส้ โดยจะประหยัดไฟได้ 75-80% (เนื่องจากอายุของหลอดขึ้นอยู่กับสภาพการติดตั้ง เช่น การระบายความร้อนและแรงดันไฟฟ้าด้วย) ปัจจุบันมี 2 ประเภท คือ
              3.1หลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายใน ที่เรียกว่าหลอดประหยัดไฟ เป็นหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่ย่อขนาดลง มีบัลลาสต์และสตาร์ทเตอร์รวมอยู่ภายในหลอด สามารถนำไปใช้แทนหลอดไส้ชนิดหลอดเกลียวได้ทันทีโดยไม่ต้องเพิ่มอุปกรณ์ใด ๆ มีอยู่หลายขนาด คือ 9 W, 11W, 13 W, 15 W, 18 W, 20 W ตัวอย่างเปรียบเทียบกับหลอดไส้ธรรมดา เป็นดังนี้


ให้แสงสว่าง
เท่ากับหลอดไส้
9 W
40 W
13 W
60 W
18 W
75 W
25 W
100 W
หลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายใน


  3.2หลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายนอก หลักการใช้งานเช่นเดียวกับหลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายใน แต่หลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายนอกสามารถเปลี่ยนหลอดได้ง่ายเมื่อหลอดชำรุด ตัวหลอดมีลักษณะงอโค้งเป็นรูปตัวยู (U) ภายในขั้วของหลอดจะมีสตาร์ทเตอร์อยู่ภายใน และมีบัลลาสต์อยู่ภายนอกมีหลายขนาด คือ


ให้แสงสว่าง
เท่ากับหลอดใส้
5 W
25 W
7 W
40 W
9 W
60 W
11W
75 W
หลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายนอก


ข้อควรปฏิบัติเพื่อการประหยัดไฟฟ้าแสงสว่าง มีดังนี้

1.ปิดสวิตซ์ไฟ เมื่อไม่ใช้งาน
2.ในบริเวณที่ไม่จำเป็นต้องใช้แสงสว่างมากนัก เช่น เฉลียง ทางเดิน ห้องน้ำ ควรใช้หลอดที่มีวัตต์ต่ำ โดยอาจใช้หลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายใน เนื่องจากมีประสิทธิภาพการให้แสง ลูเมน/วัตต์ (Im/W) สูงกว่าหลอดไส้ และดีกว่าหลอดฟลูออเรสเซนต์ขนาดไม่เกิน 18 W ด้วย
สำหรับบริเวณที่ต้องการแสงสว่างปกตินั้น หลอดผอมขนาด 36 W จะมีประสิทธิภาพการให้แสง (ลูเมน/วัตต์) สูงกว่าหลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายในทั่วๆ ไปไม่ต่ำกว่า 10% และยิ่งจะมีประสิทธิภาพการให้แสงมากขึ้นถ้าเป็นหลอดผอมชนิดซุปเปอร์และใช้บัลลาสต์ประหยัดไฟร่วมด้วย ดังนั้นจำนวนหลอดไฟที่ใช้และการกินไฟของหลอดผอมก็จะน้อยกว่าหลอดประหยัดไฟ
3.หมั่นทำความสะอาด ขั้วหลอด และตัวหลอดไฟ รวมทั้งโคมไฟและโป๊ะไฟต่าง ๆ
4.ผนังห้องหรือเฟอร์นิเจอร์อย่าใช้สีคล้ำ ๆ ทึบ ๆ เพราะสีพวกนี้จะดูดแสง ทำให้ห้องดูมืดกว่าห้องที่ทาสีอ่อน ๆ เช่น สีขาว หรือสีขาวนวล
5.เลือกใช้โคมไฟฟ้าประสิทธิภาพสูงซึ่งมีแผ่นสะท้อนแสงทำด้วยอะลูมิเนียมเคลือบโลหะเงิน จะสามารถลดจำนวนหลอดไฟลงได้ โดยแสงสว่างยังคงเท่าเดิม
6.เลือกใช้ไฟตั้งโต๊ะ ในบริเวณที่ต้องการแสงสว่างเฉพาะแห่ง เช่น อ่านหนังสือ
7.ให้ใช้บัลลาสต์ประหยัดไฟฟ้าควบคู่กับหลอดฟลูออเรสเซนต์ โดยบัลลาสต์ประหยัดไฟ มี 2 แบบ คือ
     7.1 แบบแกนเหล็กประหยัดไฟฟ้า (LOW – LOSS MAGNETIC BALLAST)
     7.2 แบบอิเล็กทรอนิกส์ ( ELECTRONIC BALLAST)
8.ในการเลือกซื้อหลอดไฟ โดยเฉพาะหลอดฟลูออเรสเซนต์นั้น ให้สังเกตปริมาณการส่องสว่าง (ลูเมน หรือ Im) ที่กล่องด้วย เนื่องจากในแต่ละรุ่นจะมีค่าลูเมนไม่เท่ากัน ส่งผลให้มีราคาแตกต่างกัน เช่น หลอดผอม 36 หรือ 40 วัตต์จะให้แสงประมาณ 2,000-2,600 ลูเมน หลอดชนิดซุปเปอร์จะให้แสง 3,300 ลูเมน หลอดประหยัดไฟขนาด 11 วัตต์ (หลอดคอมแพคขนาด 11 วัตต์ หรือหลอดตะเกียบ) จะให้แสงประมาณ 500-600 ลูเมน เป็นต้น นอกจากนี้จะต้องคำนึงถึงการกินไฟภายในบัลลาสต์ด้วย ซึ่งบัลลาสต์แกนเหล็กธรรมดาจะกินไฟมาก ส่วนบัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์จะกินไฟน้อยมาก


ประโยชน์ของบัลลาสต์ประหยัดไฟฟ้า

- บัลลาสต์ธรรมดากินไฟ ประมาณ 10-12 วัตต์ บัลลาสต์ประหยัดไฟกินไฟประมาณ 3-6 วัตต์
- บัลลาสต์ธรรมดามีประสิทธิผลการส่องสว่าง 95–110% บัลลาสต์ประหยัดไฟมีค่าประสิทธิผลการส่องสว่าง 95–
             50%
- การใช้บัลลาสต์ประหยัดไฟช่วยให้เกิดความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีอุณหภูมิขณะทำงานไม่เกิน 75 องศา
             เซลเซียส ในขณะที่บัลลาสต์ธรรมดามีความร้อนจากขดลวดและแกนเหล็กถึง 110 – 120 องศาเซลเซียส
- บัลลาสต์ประหยัดไฟมีอายุการใช้งานมากกว่าแบบธรรมดา 1 เท่าตัว แม้ราคาจะสูงกว่าบัลลาสต์แบบธรรมดา


คำแนะนำด้านความปลอดภัยในการใช้ไฟฟ้าแสงสว่าง

1.เมื่อจะเปลี่ยนหลอดควรดับหรือปลดวงจรไฟฟ้าแสงสว่างนั้น
2.สังเกตบัลลาสต์ว่ามีกลิ่นเหม็นไหม้ หรือรอยเขม่าหรือไม่
3.ถ้าเป็นหลอดฟลูออเรสเซนต์ไม่ควรปล่อยให้ไฟกระพริบอยู่เสมอ หรือหัวหลอดแดงโดยไม่สว่าง เพราะอาจเกิดอัคคีภัยได้
4.ขั้วหลอดต้องแน่นและไม่มีรอยไหม้ที่พลาสติกขาหลอด
5.ไม่นำวัสดุที่ติดไฟง่าย เช่น ผ้า กระดาษ ปิดคลุมหลอดไฟฟ้า
6.ถ้าหลอดขาดหรือชำรุดบ่อย ให้ตรวจสอบแรงดันไฟฟ้าว่าสูงผิดปกติหรือไม่ ถ้าพบผิดปกติให้รีบแจ้งการไฟฟ้านครหลวงทันที
7.ถ้าโคมไฟเป็นโลหะและอยู่ในระยะที่จับต้องได้ควรติดตั้งสายดินด้วย มิฉะนั้นจะต้องเป็นประเภทฉนวน 2 ชั้น
โคมไฟฟ้า
8.หลอดไฟที่ขาดแล้วควรใส่ไว้ตามเดิมจนกว่าจะเปลี่ยนหลอดใหม่
9.หลอดไฟขนาดเล็กที่ใช้ให้แสงสว่างตามทางเดินตลอดคืนซึ่งใช้เสียบกับเต้ารับนั้น อาจมีปัญหาเสียบไม่แน่นจนเกิดความร้อนและไฟไหม้ได้ นอกจากนี้วัสดุที่ใช้มักมีคุณภาพต่ำ ไม่ทนทานต่อความร้อน จึงไม่แนะนำให้ใช้ หรือเสียบทิ้งไว้โดยไม่มีผู้คนดูแลอยู่ใกล้ ๆ
10.ดูข้อควรปฏิบัติในการใช้ไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย

วันอาทิตย์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2557

โทรทัศน์

โทรทัศน์

ประเภทของเครื่องรับโทรทัศน์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ โทรทัศน์ขาวดำ และโทรทัศน์สีซึ่งมี 2 ชนิด คือ ชนิดที่มีรีโมทคอนโทรล กับไม่มีรีโมทคอนโทรล โดยทั่วไปโทรทัศน์สีจะกินไฟมากกว่าโทรทัศน์ขาวดำประมาณ
1-3 เท่า และโทรทัศน์สีที่มีรีโมทคอนโทรล จะกินไฟมากกว่าโทรทัศน์สีที่ไม่มีรีโมทคอนโทรลที่มีขนาดเดียวกัน เพราะมีวงจรเพิ่มเติม และกินไฟตลอดเวลาถึงแม้จะไม่ใช้เครื่อง รีโมทคอนโทรลก็ตาม โทรทัศน์ขนาดใหญ่ก็จะกินไฟมากกว่าขนาดเล็ก
โทรทัศน์

วิธีใช้เครื่องรับโทรทัศน์ให้ประหยัดพลังงาน คือ




 1. ควรเลือกดูรายการเดียวกัน
 2. ปิดเมื่อไม่มีคนดู
 3. ถอดปลั๊กเมื่อไม่ได้ใช้งาน นอกจากจะกินไฟแล้วโทรทัศน์จะชำรุดได้ง่ายด้วย
 4. ถ้าผู้ใช้นอนหลับหน้าโทรทัศน์บ่อย ๆ ควรติดสวิตซ์ตั้งเวลาเพิ่ม







คำแนะนำด้านความปลอดภัยในการใช้โทรทัศน์




คำแนะนำด้านความปลอดภัยในการใช้โทรทัศน์
 1.ควรติดตั้งเสาอากาศให้มั่นคงแข็งแรง แล้วยึดด้วยลวดไม่ต่ำกว่า 3 จุด เพื่อป้องกันไม่ให้เสาล้ม ไม่ควรติดตั้งเสาอากาศทีวีให้สูงเกินความจำเป็น เพื่อหลีกเลี่ยงฟ้าผ่าลงที่เสา นอกจากนี้ควรให้เสาห่างจากแนวสายไฟฟ้าแรงสูงเพื่อป้องกันไม่ให้เสาล้มพาดสายแรงสูงและ เกิดอันตรายได้
 2.อย่าเปิดเครื่องรับโทรทัศน์ในขณะที่ตัวเปียกชื้น และไม่ควรจับเสาอากาศโทรทัศน์ด้วย
 3.ให้ปิดโทรทัศน์ ถอดปลั๊กไฟและขั้วสายอากาศออกในขณะที่มีฝนฟ้าคะนอง เพื่อป้องกันโทรทัศน์ชำรุด
 4.อย่าดูโทรทัศน์ใกล้เกินไปจะทำให้สายตาเสีย หรือได้รับรังสีและคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้ามากเกินไป 
 การติดตั้งเสาอากาศทีวีที่ไม่ปลอดภัย
 5.วางโทรทัศน์ในที่ ๆ มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
 6.อย่าถอดซ่อมด้วยตัวเอง เนื่องจากภายในมีระบบไฟฟ้าแรงสูงอยู่ด้วย
 7.ดูข้อควรปฏิบัติในการใช้ไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย

วันเสาร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ตู้เย็น

ตู้เย็น

           การซื้อตู้เย็นนอกจากจะต้องคำนึงถึงราคาแล้ว ควรจะพิจารณาถึงลักษณะและระบบของตู้เย็น เพื่อประหยัดพลังงาน ดังต่อไปนี้

 1. ควรเลือกซื้อตู้เย็นที่มีสลากประหยัดไฟโดยเป็นสติกเกอร์ติดอยู่ที่ตู้เย็น ซึ่งสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ) เป็นผู้ตรวจสอบและรับรองคุณภาพ โดยกำหนดเป็นตัวเลขดังนี้
 2. ควรพิจารณาขนาดให้เหมาะสมกับขนาดครอบครัว ขนาดประมาณ 2.5 ลูกบาศก์ฟุต (คิว) สำหรับสมาชิก 2 คนแรกของครอบครัว แล้วเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 1 ลูกบาศก์ฟุต ต่อ 1 คน
 3. ควรเลือกตู้เย็นที่มีฉนวนกันความร้อนหนา และเป็นชนิดโฟมอัด เพื่อไม่ให้มีการสูญเสียความเย็นมาก
 4. ตู้เย็น 2 ประตูกินไฟมากกว่าตู้เย็นประตูเดียวที่มีขนาดความจุเท่ากัน เนื่องจากใช้ท่อน้ำยาเย็นที่ยาวกว่า แต่ตู้เย็น 2 ประตู จะมีการสูญเสียความเย็นน้อยกว่า
 5. ตู้เย็นชนิดที่ไม่น้ำเข็งจับจะกินไฟมากกว่าชนิดที่มีปุ่มกดละลายน้ำแข็ง
 6. ควรเลือกซื้อตู้เย็นที่ใช้กับระบบไฟฟ้า 220-230 โวลต์ เท่านั้น ถ้าใช้ชนิด 110-120 โวลต์จะต้องใช้หม้อแปลงลดแรงดัน ทำให้กินไฟมากขึ้น

วิธีใช้ตู้เย็นให้ประหยัดพลังงาน



 1.ก่อนใช้ควรศึกษาคู่มือการใช้และปฏิบัติตามคำแนะนำ
 2.ตั้งไว้ในที่เหมาะสม ควรตั้งตู้เย็นให้ห่างจากผนังอย่างน้อย 15 เซนติเมตร
 3.อย่าตั้งใกล้แหล่งความร้อน ไม่ควรตั้งอยู่ใกล้เตาไฟ หรือแหล่งความร้อนอื่น และไม่ควรให้โดนแสงแดด
 4.ปรับระดับให้เหมาะสมเวลาตั้งตู้เย็นให้ปรับระดับด้านหน้าของตู้เย็นสูงกว่าด้านหลังเล็กน้อย เพื่อเวลาปิดน้ำหนักของประตูตู้เย็นจะถ่วงให้ประตูปิดเข้าไปเอง
 5. หมั่นตรวจสอบยางขอบประตู ไม่ให้มีรอยรั่วหรือเสื่อมสภาพ
 6. อย่าเปิดตู้เย็นบ่อย ๆ เมื่อเปิดแล้วก็ต้องรีบปิด
 7. ละลายน้ำแข็งสม่ำเสมอ เพื่อให้การทำความเย็นมีประสิทธิภาพสูง
 8. ตั้งสวิตซ์ควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสมกับชนิดและปริมาณอาหารที่แช่ตู้เย็น
 9. ถอดปลั๊ก กรณีไม่อยู่บ้านหลายวันหรือไม่มีอะไรในตู้เย็น


คำแนะนำด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับตู้เย็น  

 1. ควรติดตั้งระบบสายดินกับตู้เย็นผ่านทางเต้าเสียบ-เต้ารับที่มีสายดิน
 2.ใช้ไขควงลองไฟตรวจสอบตัวตู้เย็นว่ามีไฟรั่วหรือไม่ ตู้เย็นที่ไม่มีสายดินนั้นการกลับขั้วที่ปลั๊กอาจทำให้มีไฟรั่วน้อยลงได้
 3. ตู้เย็นที่ดีควรจะมีสวิตซ์อัตโนมัติปลดออกและสับเองด้วยการหน่วงเวลาเมื่อมไฟดับ-ตก มิฉะนั้นจะต้องถอดปลั๊กตู้เย็นออกทันทีก่อนที่จะมีไฟเข้ามา และจะเสียบปลั๊กเข้าอีกครั้งเมื่อไฟมาปกติแล้ว 3-5 นาที
 4.หลอดไฟในตู้เย็นถ้าขาด ไม่ควรเอาหลอดออกจนกว่าจะเปลี่ยนใหม่
 5.อย่าปล่อยให้พื้นบริเวณประตูตู้เย็นเปียก เพราะอาจเป็นสื่อไฟฟ้าอย่างดี ให้ปูด้วยพรมหรือพื้นยางก็ได้ ส่วนบริเวณมือจับก็ควรมีผ้าหรือฉนวนหุ้มด้วย
 6.ดูข้อควรปฏิบัติในการใช้ไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย
 ตู้เย็นเบอร์ 5
เลข 5 ดีมาก
หมายถึง
ประสิทธิภาพสูงสุด
เลข 4 ดี
หมายถึง
ประสิทธิภาพสูง
เลข 3 ปานกลาง
หมายถึง
ประสิทธิภาพปานกลาง
เลข 2 พอใช้
หมายถึง
ประสิทธิภาพพอใช้
เลข 1 ต่ำ
หมายถึง
ประสิทธิภาพต่ำ

วันศุกร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2557

เครื่องปรับอากาศ

เครื่องปรับอากาศ

1.ควรเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศที่มีสลากประหยัดไฟ โดยเป็นสติกเกอร์ติดอยู่ที่เครื่องปรับอากาศซึ่งสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เป็นผู้ตรวจสอบและรับรองคุณภาพ โดยกำหนดเป็นตัวเลขดังนี้
 แอร์บ้าน
เลข 5 ดีมาก
หมายถึง
ประสิทธิภาพสูงสุด
เลฃ 4 ดี
หมายถึง
ประสิทธิภาพสูง
เลข 3 ปานกลาง
หมายถึง
ประสิทธิภาพปานกลาง
เลข 2 พอใช้
หมายถึง
ประสิทธิภาพพอใช้
เลข 1 ต่ำ
หมายถึง
ประสิทธิภาพต่ำ
2.ควรเลือกขนาดของเครื่องปรับอากาศให้เหมาะสมกับห้องที่ต้องการติดตั้ง โดยที่ความสูงของห้องไม่เกิน 3 เมตร ควรเลือกขนาดตามตารางต่อไปนี้

พื้นที่ห้องตามความสูงไม่เกิน 3 ม.
(ตร.ม.)
ขนาดของเครื่องปรับอากาศ
(บีทียู/ชั่วโมง)
13 - 14
7,000 - 9,000
16 - 17
9,000 - 12,000
20
11,000 - 13,000
23 - 24
13,000 - 16,000
30
18,000 - 20,000
40
24,000



          3.ชนิดของเครื่องปรับอากาศที่นิยมใช้ในบ้านอยู่อาศัย ในปัจจุบันมีจำหน่ายในท้องตลาด
  3 ชนิด คือ


 3.1ชนิดติดหน้าต่าง จะเหมาะสมกับห้องที่มีลักษณะที่ติดตั้งวงกบหน้าต่าง ติดกระจกช่องแสงติดตาย บานกระทุ้ง บานเกล็ด เป็นต้น มีขนาดตั้งแต่ 9,000 – 24,000 บีทียู/ชม. มีค่าประสิทธิภาพ (EER=บีทียูต่อชั่วโมง/วัตต์) ตั้งแต่ 7.5 – 10 บีทียู/ชม./วัตต์

 3.2 ชนิดแยกส่วนติดฝาผนังหรือแขวน เหมาะสมกับห้องที่มีลักษณะทึบจะติดตั้งได้สวยงาม แต่จะมีราคแพงกว่าเมื่อเปรียบเทียบเครื่องปรับอากาศชนิดต่าง ๆ ที่มีขนาดเท่ากัน (บีทียู/ชม.) เครื่องปรับอากาศชนิดนี้ส่วนใหญ่จะมีประสิทธิภาพสูงกว่า และจะมีสวิตซ์ควบคุมอุณหภูมิอัตโนมัติแบบอิเลกคทรอนิกส์สำหรับควบคุมอุณหภูมิความเย็นของห้อง มีขนาดตั้งแต่ 8,000 – 24,000 บีทียู/ชม. ค่า EER ตั้งแต่ 7.5 – 13 บีทียู/ชม./วัตต์

 3.3 เครื่องปรับอากาศชนิดแยกส่วนตั้งพื้น จะเหมาะสมกับห้องที่มีลักษณะห้องที่เป็นกระจกทั้งหมด ผนังทึบซึ่งไม่อาจเจาะ ช่องเพื่อติดตั้งได้ เมื่อเปรียบเทียบเครื่องปรับอากาศชนิดต่าง ๆ ที่มีขนาดเท่ากัน เครื่องปรับอากาศชนิดนี้ส่วนใหญ่จะมีประสิทธิภาพต่ำกว่า มีขนาดตั้งแต่ 12,000 – 36,000 บีทียู/ชม. มีค่า EER ตั้งแต่ 6 – 11 บีทียู/ชม./วัตต์


วิธีใช้เครื่องปรับอากาศให้ประหยัดพลังงาน


 1.ติดตั้งในที่เหมาะสม คือต้องสูงจากพื้นพอสมควร สามารถเปิด-ปิดปุ่มต่าง ๆ ได้สะดวก และเพื่อให้ความเย็นเป่าออกจากเครื่องได้หมุนเวียนภายในห้องอย่างทั่วถึง
 2.อย่าให้ความเย็นรั่วไหล ควรจะปิดประตูหรือหน้าต่างห้องให้มิดชิด
 3.ปรับปุ่มต่าง ๆ ให้เหมาะสมเมื่อเริ่มเปิดเครื่องควรตั้งความเร็วพัดลมไปที่ตำแหน่งสูงสุด เมื่อความเย็นพอเหมาะแล้วให้ตั้งไปที่อุณหภูมิ 26 องศาเซลเซียส
 4.หมั่นทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศ อุปกรณ์ในระบบปรับอากาศ และตะแกรง รวมทั้งชุดคอมเดนเซอร ์เพื่อให้อากาศผ่านเข้าออกได้สะดวกจะประหยัดไฟโดยตรง
 5.ใช้พัดลมระบายอากาศเท่าที่จำเป็น
 6.ควรปิดเครื่องปรับอากาศเมื่อไม่มีความจำเป็นต้องใช้
 7.ในฤดูหนาวขณะที่อากาศไม่ร้อนมากเกินไป ไม่ควรเปิดเครื่องปรับอากาศ
 8.หมั่นตรวจสอบ ล้าง ทำความสะอาดตามระยะเวลาที่ผู้ผลิตกำหนด
 9.หน้าต่างหรือบานกระจกควรป้องกันรังสีความร้อนที่จะเข้ามาดังนี้
 - ใช้อุปกรณ์บังแดดภายนอกมิให้กระจกถูกแสงแดด เช่น ผ้าใบ หรือแผงบังแดด หรือร่มเงาจากต้นไม้
 - ใช้กระจกหรือติดฟิล์มที่สะท้อนรังสีความร้อน
 - ใช้อุปกรณ์บังแดดภายใน เช่น ผ้าม่าน มู่ลี่ (กระจกด้านทิศใต้ให้ใช้ใบอยู่ในแนวนอน กระจกทิศตะวันออก-ตกให้ใช้ใบที่อยู่ในแนวดิ่ง)
 10.ผนังหรือเพดานโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านที่มีแสงแดดส่องจะเก็บความร้อนไว้มาก ทำให้มีการสูญเสียพลังงานมาก จึงควรป้องกันดังนี้
  - บุด้วยฉนวนกันความร้อนหรือแผ่นฟิล์มอะลูมิเนียมสะท้อนรังสีความร้อน
  - ทำที่บังแดด/หลังคา/ปลูกต้นไม้ด้านนอก
 11.พยายามอย่าใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อนในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ ไฟส่องสว่างก็เป็นตัวให้ความร้อน จึงควรปิดไฟเมื่อไม่มีความจำเป็น
 12.ชุดคอนเดนเซอร์ที่ใช้ระบายความร้อนสู่ภายนอก
  - ควรถูกแสงแดดให้น้อยที่สุด
  - ขจัดสิ่งกีดขวางทางลมให้ระบายอากาศได้สะดวก
  - อย่าติดตั้งให้ปะทะกับลมธรรมชาติโดยตรง


คำแนะนำด้านความปลอดภัยของเครื่องปรับอากาศ


 1.ควรต่อระบบสายดินกับเครื่องปรับอากาศและทดสอบไฟรั่วด้วยไขควงลองไฟ
 2.เครื่องตัดไฟรั่วขนาดไม่เกิน 30 mA. หากป้องกันวงจรของเครื่องปรับอากาศด้วย อาจมีปัญหาเครื่องตัดไฟรั่วทำงานบ่อยขึ้น ควรหลีกเลี่ยงโดยการแยกวงจรออก และใช้ขนาด 100 mA. ป้องกันอีกชั้นหนึ่ง
 3.ติดตั้งเบรกเกอร์หรือสวิตซ์อัตโนมัติและควบคุมวงจรโดยเฉพาะ
 4.กรณีมีไฟตกหรือไฟดับ ถ้าไม่มีสวิตซ์ปลดสับเองโดยอัตโนมัติต้องรีบปิดเครื่องทันทีก่อนที่จะมีไฟมา และควรรอระยะเวลาประมาณ 3-5 นาที ก่อนที่จะสับสวิตซ์เข้าใหม่
 5.หมั่นตรวจสอบขั้วและการเข้าสายของจุดต่อต่าง ๆ อยู่เสมอ
 6.ดูข้อควรปฏิบัติในการใช้ไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย